จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 150 : ความเข้าใจเรื่องราว (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-150

      

      การค้นพบที่มีมักรายงานกันบ่อย (Oft-reported finding) ก็คือ ผู้ร่วมวิจัยสูงวัยมักจดจำหลายๆ จุด ในเรื่องราวได้เช่นเดียวกับ ผู้ใหญ่เยาว์วัย แต่แย่กว่าอย่างมีนัยยะสำคัญในการจดจำรายละเอียด นักวิจัยพบว่า การระลึกได้ (Recall) ของข้อความในเนื้อหา (Content of text) ในบรรดาผู้ใหญ่เยาว์วัยสูงกว่าผู้ใหญ่สูงวัยอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ไม่มีความแตกต่างตามอายุในเรื่องความสามารถในการแปลความ (Interpret) ในเนื้อหา

      นักวิจัยพบว่า แม้กลุ่มผู้ใหญ่สูงอายุจะแย่กว่าในมาตรการชดเชย (Compensation measure) แต่ผู้ใหญ่สูงอายุก็ทำคะแนนทดสอบได้สูงกว่าในการสรุปความเห็น (Inference) โดยทั่วไป (Generalized) และในรายละเอียด (Elaborative) ดังนั้นมาตรการชดเชยที่วัดผลด้วยวิธีดั้งเดิม (Traditional) ของนักจิตวิทยา อาจใช้ทักษะประเภทเดียวเพียงเล็กน้อย (Tap)

      การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการชดเชยมักเกิดจาก (Attributed to) ชราภาพ ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิตผู้ใหญ่ นักวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัย และสูงวัยที่ร่วมวิจัย ไม่แสดงความแตกต่างในความสามารถตัดสินใจ (Judge) การใช้ภาษาในนานาบริบท (Pragmatics) ของ 2 ประโยค แต่ความสามารถในการรับรู้ (Recognize) คำ ที่ปรากฏในเนื้อหาที่ทดสอบ (Test material) เสื่อมถอยลงอย่างสม่ำเสมอไปตามอายุที่สูงขึ้น

      สิ่งที่น่าสนใจก็คือ นักวิจัยพบว่า การเสื่อมถอยจะเด่นชัด (Notable) ในผู้ร่วมวิจัยวัยกลางคน (Middle-aged) การศึกษาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอายุ มักเปรียบเทียบผู้ใหญ่เยาว์วัยในช่วงอายุ 20 – 29 ปี กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยที่วัยกลางคนถูกละเลย (Ignored) ดังนั้นวรรณกรรมการวิจัย (Research literature) ได้มีพัฒนาการ ณ ที่มีข้อสันนิษฐานว่า ความเสื่อมถอยเริ่มที่ผู้สูงอายุ แต่นักวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้น (Occur) ในบางทักษะตั้งแต่วัยกลางคน

      การศึกษาจำนวนไม่น้อยของความเข้าใจ (Comprehension) ของผู้ใหญ่เยาว์วัย อาศัยนักศึกษาเป็นผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) ที่ลงลึกในรายละเอียด มิใช่ผิวเผิน (Superficial) การค้นพบว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัยเหล่านี้มีความทรงจำในรายละเอียดของเรื่องราว ไม่น่าประหลาดใจนัก

      เหตุผลก็คือผู้สูงวัยอาจมีขีดความสามารถในการประมวลที่ด้อยกว่าในเรื่องการสังเกตและการ “ถอดรหัส” (Encode) รายละเอียด แม้จะยังคงจดจำจุดสำคัญ (Main point) ได้ แต่เป็นไปได้ไหมที่อาจมีผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน?

      เมื่อเราถามบางคนว่า หนังสือเล่มนั้นหรือภาพยนตร์เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับอะไร? เรามักต้องการเพียงโครงเรื่อง (Bare outline) เท่านั้น เรามักไม่ต้องการรายละเอียด และหลายคนก็มักจะให้เพียงข้อเท็จจริง โดยมองข้ามรายละเอียดที่ถือว่าไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevance) ด้วยซ้ำ มีนักศึกษาเพียงบางคนเท่านั้นที่มีความเชื่อถืออันส่งผลต่อพฤติกรรม (Mindset) ในการสังเกตรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old age https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, February 27].