จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 148 : ความเข้าใจเรื่องราว (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-148

      

      ทั้งผู้ใหญ่สูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัย อ่านข้อความ (Passage) เดียวกัน ได้ช้ากว่า และตอบคำถามความเข้าใจ (Comprehension) อย่างถูกต้องได้น้อยกว่า เมื่อชุดแบบตัวอักขระ (Font) ที่แตกต่างทำให้วอกแวก (Distract) แต่กลุ่มผู้ใหญ่สูงวัยค่อยข้างด้อยกว่าอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Disproportionately disadvantaged)

      นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า เมื่อส่วน (Section) ที่เป็นชุดแบบอักขระตัวเอน (Italicized) ซึ่งได้รับการบอกให้เพิกเฉย (To-be-ignored) มีแผ่นแทรก (Interleaved) พร้อมเนื้อหาที่ต้องอ่าน (To-be-read text) ผู้ใหญ่สูงวัยมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นผิด (False start) และอ่านส่วนหนึ่ง (Bit) ของเนื้อหา (ก่อนแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง)

      นอกจากนี้ [ผู้ใหญ่สูงวัย] ยังมีแนวโน้มที่จะเข้าใจผิด (Miscomprehend) เนื้อหาที่จะต้องอ่าน โดยรวบรวมข้อมูลอย่างผิดๆ (Erroneously incorporate) จากเนื้อหาที่อยูในชุดแบบอักขระตัวเอน

      อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบในเวลาต่อมา ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ผู้ใหญ่เยาว์วัยสามารถรับรู้คำจากเนื้อหาในชุดแบบอักขระตัวเอนได้ดีกว่า แม้จะมีความสามารถมากกว่าอย่างเด่นชัด (Apparently) ในการเพิกเฉยมัน และนี่ก็บอกเป็นนัย (Imply) ว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัย สามารถปิดรับ (Shut out response) ต่อเนื้อหาได้ดีกว่า แทนที่จะไม่อ่านมัน

      และก็เป็นการบอกเป็นนัยว่า มีความแตกต่างไม่น้อยในตัวผู้อ่านที่อายุแตกต่างกัน ในเรื่องความสามารถในการควบคุมขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการอ่าน การค้นพบนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่พบว่า ในการอ่านเนื้อหาเพื่อการระลึกถึง (Recall) ในเวลาต่อมา ผู้อ่านเยาว์วัยค่อนข้างจะตอกย้ำ (Emphasis) ในเรื่องคุณลักษณะปัจจุบัน (Immediate feature) ของเนื้อหา ในขณะที่ผู้ใหญ่สูงวัยจะเก็บ (Store) ข้อมูลไว้ในรูปแบบบริบท (Contextual)

      โดยทั่วไปแล้ว และในสาขาวิชาจิตวิทยาผู้สูงวัย (Psycho-gerontology) ความซับซ้อน (Complexity) จะเพิ่มขึ้นตามความแตกต่างในอายุ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยจะด้อยสมรรถนะ (Impair) ในการระลึกโดยตรง (Straightforward recall) ของข้อความ (Passage) ในเนื้อหา แต่จะด้อยกว่าอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Disproportionately disadvantaged) เมื่อได้รับการขอให้สรุป (Summarize) กล่าวคือ เมื่อต้องจดจำและประมวลข้อความ ผู้สูงวัยจะด้อยสมรรถนะกว่ามาก

      นักวิจัยยังพบว่า ผู้สูงวัยมีความลำบากในการสรุปความเห็น (Inference) จากเรื่องราวที่คลุมเครือ (Ambiguous story) ในเนื้อหา ซึ่งเริ่มต้นโดยการบอกเป็นนัยสิ่งหนึ่ง ก่อนแยกออก (Resolve) ในทิศทางที่แตกต่างจากที่คาดหวังไว้แต่แรก (Initially anticipated) เขาอธิบาย (Attribute) ความเสื่อมถอยที่เกี่ยวกับอายุว่า ลดน้อยถอยลงในความสามารถของการประมวลข้อมูลในความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) ตัวอย่างเช่น การเก็บเรื่องราวในช่วงแรกไว้ในใจ (In mind) ในขณะที่แยกออกเรื่องความขัดแย้ง (Contradiction) ที่โผล่มา (Introduced) ในช่วงท้ายของเรื่องราว

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old agehttps://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, February 13].