จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 143 : การประมวลลักษณะประโยค (5)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-143

การโต้แย้งที่สัมพันธ์กัน (Related argument) เป็นเรื่อง (Concern) ของการเปลี่ยนแปลงในภาษาของผู้สูงวัย จะเชื่อมโยงกับการใช้ภาษา (Linguistic usage) ในวัยเด็ก (Childhood) ได้อย่างไร? กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้สูงวัยถดถอยลง (Regress) ไปสู่สภาวะภาษา (Linguistic state) คล้ายเด็ก (Childlike) หรือไม่? เราเรียกว่า “ข้อสุมมติฐานถดถอย” (Regression hypothesis)

ข้อโต้แย้งอย่างขึงขัง (Strong form) นี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ (Plausible) เนื่องจากการใช้ไวยากรณ์ (Grammatical usage) ของผู้สูงวัยยังไม่ทันสมัย (Sophisticated) พอ และแปรเปลี่ยน (Vary) มากกว่าไวยากรณ์ของเด็ก แม้ว่าภาษาอาจทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) ในเวลาต่อมาของชีวิต แต่ก็ไม่มากนัก

ในระดับที่ไม่ขึงขัง (Weak form) นัก ทฤษฎีนี้ก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากการใช้ภาษาบางครั้ง อาจคล้ายอย่างผิวเผิน (Superficially similar) กับภาษาของเด็ก ในรูปแบบที่ง่ายขึ้น แต่นี้มิได้พิสูจน์เกินกว่า (Beyond) ความจริงที่ว่า ผู้สูงวัยใช้ภาษาง่ายๆ อยู่แล้วในบางครั้ง

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพิจารณาโดยทั่วไปดังกล่าว อาจเป็นการยากที่จะยืนยันข้อเท็จจริงของคำกล่าว (Firm statement) นี้ จากข้อโต้แย้งเหล่านี้ อาจเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงลักษณะประโยค (Syntactic) กับการเปลี่ยนแปลงในสติปัญญาโดยทั่วไป (General intellect)

อย่างไรก็ตาม มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) เหมือนกันว่า ผลกระทบอาจทำให้สับสน (Confounded) กับทักษะปัญญาผลึก (Crystallized skill) ผลกระทบของเพื่อนร่วมรุ่น (Cohort effect) และการเปลี่ยนแปลงโดยเจตนา (Deliberate) ในวิถีของภาษา (Linguistic style)

แม้ว่านี่เป็นการสนองตอบ (Response) ต่อขีดความสามารถที่ลดลงของการประมวลจิตใจ (Mental processing แต่มันก็ยังเป็นจุดยังถกเถียงกันอยู่ (Moot point) ดังนั้น ด้วยเหตุที่ส่วนใหญ่ของการวิจัยในเรื่องชราภาพกับภาษายังคงดำเนินอยู่ ผลลัพธ์จึงไม่ถึงกับเด่นชัดทั้งหมด (Totally clear-cut)

การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษาในผู้สูงวัย ที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ยังอยู่ในลักษณะแยกส่วน (Fragmented) [กล่าวคือต่างคนต่างทำ] อาจมีการครอบคลุมในบางสาขาวิชาในเชิงลึก แต่ในสาขาอื่น อาจสัมผัส (Touch) เพียงผิวเผิน ด้วยเหตุนี้ การแปรผลต้องระมัดระวัง (Guarded interpretation)

นอกจากนี้ การเสื่อมถอยของสายตาและการได้ยิน ก็มีผลต่อทักษะภาษา เพราะโดยทั่วไป การเสื่อมถอยของสุขภาพกาย (Physical health) อาจทำให้การเข้าถึงโลกภายนอกได้น้อยลง อาทิ โอกาสสนทนากับผู้อื่น และการได้ไปใช้ห้องสมุดสาธารณะ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2018, January 9].