จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 138 : การประมวลความหมายคำ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-138

การประมวลความหมายคำ (Semantic processing) มักจะ (Invariably) วินิจฉัยจากาการใช้ทักษะอื่นๆ ดังนั้น ความแตกต่างตามอายุขัย จึงอาจเป็นผลลัพธ์จากความหลากหลายของปัจจัยที่อาจเป็นไปได้ (Potential) เหมือนการประเมินคุณค่า (Worth) ของยี่ห้อ (Brand) ที่แตกต่างของแป้งตำรับทำขนมเค้ก

แม้เราจะสามารถกะประมาณ (Estimate) ความแตกต่างอย่างสมเหตุผล โดยการชั่ง-ตวง-วัด (Gauge) แต่อิทธิผลจากส่วนประกอบ (Ingredient) อื่นๆ จะยังคงอยู่ และผันแปร (Vary) ไปตามตำรับ ในทำนองเดียวกัน แม้เราจะสามารถประเมินทักษะเกี่ยวกับความหมายได้ แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยอาจต้องใช้ทักษะอื่นๆ (อาทิ การประมวลเสียง [Phonological processing]) ในการทำงานเกี่ยวกับความหมาย [ของคำ]

ดังนั้น สาขา (Field) นี้จึงเปิดกว้างสำหรับตัวแปร (Variable) อื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบ นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัย เห็นภาพของวัตถุ แล้วผู้เข้าร่วมวิจัยต้องเอ่ยชื่อวัตถุเหล่านั้น ในขณะที่นักวิจัยอ่านคำที่หันเห (Distract) ความสนใจ ในบางกรณี (instance) วัตถุนั้นเป็นคำพ้องเสียง (Homophone) ที่มีมากว่าหนึ่งความหมาย

ถ้าผู้เข้าร่วมวิจัยกำลังมองรูปภาพของรายการหนึ่ง และมีการพูดถึงคำที่ความหมายสัมพันธ์กับความหมายอื่น (อาทิ ผู้เข้าร่วมวิจัยเห็นภาพของลูกบอล และได้ยินคำว่า “เต้นรำ”) คำนี้จะช่วย (Aid) เวลาสนองตอบ (Response time) ของผู้ใหญ่เยาว์วัยมากกว่าผู้สูงวัย คำหันเหความสนใจอื่นๆ โดยทั่วไปมักไม่มีผลกระทบที่แตกต่างต่อการสนองตอบของกลุ่มอายุ

สิ่งที่น่าสนใจก็คือความจริงที่ว่า ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่าง การประมวลความหมายของผู้สูงวัย อาจถูกทำให้ดูเหมือนดี เลว หรือไม่แตกต่าง (Indifferent) ตามการออกแบบทดลอง (Experimental design) อันนำไปสู่คำถามว่า แล้วคำว่า “การประมวลความหมาย” มันหมายถึงอะไรกันแน่?

กระบวนการความหมายขั้นพื้นฐาน ดูเหมือนจะไม่เป็นไปตามอายุ (Age-resistant) ตัวอย่างเช่น ทีมนักวิจัยหนึ่งสาธิตการเติมคำที่ขาดหายไปในประโยคที่คำตอบอาจวัดผลได้จากบริบท (Context) ที่ดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากอายุ แต่อาจมีความแตกต่างจากผลตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography : EEG)

เมื่อได้รับงานที่ค่อนข้างไม่ซับซ้อน (Uncomplicated) ในการนิยามคำใหม่ที่พบในข้อความร้อยแก้ว (Passage of prose) ผู้สูงวัยก่อให้เกิด (Produce) นิยามที่สมบูรณ์กว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย แต่ในงานที่ซับซ้อน ทักษะเกี่ยวกับความหมายแสดงประจักษณ์หลักฐาน (Evidence) ที่พึงระมัดระวัง (Circumstance) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานะ (State) ที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร หลังจากลดหย่อน (Extenuate) ตัวแปรลง ท้ายสุดความสำคัญ (Paramount) อยู่ที่ทักษะการนำเสนอตัวเองให้ถูกตรวจสอบทันที (Immediate inspection) ได้อย่างไร?

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2017, December 5].