จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 130 : ข้อจำกัดทางการรับรู้ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-130

นักวิจัยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของตาในผู้อ่านเมื่อมีคำที่ทำให้วอกแวก (Distractor) [อาทิ ตัวพิมพ์เอน (Italics) หรือชุดแบบอักษร (Font) สีแดง] พิมพ์อยู่ ณ ที่แสดงข้อความเป้าหมาย (Target text) โดยที่ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านข้อความบนจอ แต่บางครั้ง มีคำไม่เกี่ยวข้องไปปรากฏอยู่ด้วย นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัยมีการเคลื่อนไหวของตาที่คล้ายกัน เมื่อประมวลคำที่ทำให้วอกแวกอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่เยาว์วัยสามารถอ่านได้เร็วกว่าและตอบคำถามได้ถูกต้องในเรื่องข้อความเป้าหมาย ข้อโต้แย้งนี้ดูจะขัดกันกับข้อสมมุติฐาน “ความบกพร่องในการยับยั้ง” (Inhibitory deficit hypothesis) ซึ่งกล่าวว่า ความเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุในการยับยั้ง [ชั่งใจ] เป็นสาเหตุของปัญหาเฉพาะ (Specific) ของกระบวนการทางจิต (Mental process) ที่ประมวลความวอกแวก

ผลกระทบของคำที่ทำให้วอกแวกต่อผู้สูงวัย มิใช่เป็นเรื่องของความแตกต่างในสายตา (Eyesight) นักวิจัยนำเสนองานที่ทำให้วอกแวก (Distractor task) ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการบอกเล่าให้อ่านเฉพาะที่เป็นตัวพิมพ์เอน และเพิกเฉยต่อชุดแบบอักษรดั้งเดิม (Conventional font)

นักวิจัยพบว่า มีความแตกต่างตามอายุอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าสายตาของผู้ใหญ่เยาว์วัยที่เข้าร่วมวิจัยเยาว์วัยจะถูกดัดแปลง (Alter) ให้คล้าย (Resemble) กับความคมชัด (Acuity) ของผู้สูงวัย หรือเมื่อเปรียบเทียบ (Match) ความคมชัดระหว่างสายตาของผู้สูงวัยกับผู้ใหญ่เยาว์วัย ซึ่งแสดงว่า ปัญหาในการอ่านที่ผู้สูงวัยประสบในสถานการณ์เหล่านี้ ไม่ใช่เพียงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในความคมชัดของการมอง (Visual) แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอายุในกลไก (Mechanism) ของการยับยั้ง

การจัดการ (Manipulation) อย่างอื่น สร้าง (Produce) ผลกระทบต่ออายุค่อนข้างตรงไปตรงมา (Straight-forward) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยนำเสนอผู้เข้าร่วมวิจัยให้อ่านประโยคที่ค่อนข้างซ่อนเร้น (Obscure) โดยรูปแบบทับซ้อน (Overlying) ของ [ระดับ] “เสียงจากการมองเห็น” (Visual noise)

นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยจำเป็นต้องได้ระดับเสียงต่ำลง อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อ [ให้มีสมาธิ] การอ่าน เท่ากับผู้ใหญ่เยาว์วัย อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านสูงวัย ได้เปรียบอย่างมาก (Disproportionately advantaged) แก่ผู้อ่านเยาว์ย เมื่อพบประโยคที่เอื้ออำนวยความหมายของคำ (Semantic facilitation)

สำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยและเยาว์วัยที่ส่วนร่วมในการอ่าน (Engaged in reading) ในขณะที่พยายามเพิกเฉยต่อสิ่งที่ทำให้วอกแวกนั้น มีมาตรวัด (Measurement) การสนองตอบ ที่แสดงให้เห็นว่า กระบวนการทางจิตของผู้สูงวัยถูกทำให้ยุ่งเหยิง (Disrupt) จากปัจจัยกระตุ้นภายนอก (Extraneous stimuli)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Decline and Compensation in Aging Brain and Cognition: Promises and Constraints https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2809780/ [2017, October 10].