จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน (Bariatric Surgery) ตอนที่ 5

จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย ซึ่งผู้ป่วยมักใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3 – 5 วัน หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการทดสอบว่าไม่มีรอยรั่ว จึงเริ่มรับประทานอาหาร อาหารสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วนนั้นแบ่งเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1

  • ระยะ 1 – 3 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ซึ่งจะเป็นอาหารเหลวใส ไม่มีกากใยอาหาร ไม่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและคาเฟอีน อาทิ น้ำซุปใส น้ำใบเตย น้ำเก๊กฮวย น้ำอัญชัน หรือน้ำผลไม้ที่ไม่กากใย เป็นต้น
  • ระยะ 3 – 7 วันหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถทนต่ออาหารได้เพิ่มขึ้นโดยไม่มีอาการจุก แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องเริ่มปรับอาหารจากเหลวใสมาเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันและน้ำตาลต่ำ อาทิ ซุปปั่นละเอียดแบบข้นที่มีส่วนผสมของเนื้อปลา ,ไข่ขาว หรือนมสดพร่องมันเนย น้ำเต้าหู้ไม่เติมน้ำตาล หรือโยเกิร์ต รสธรรมชาติและอาจใช้ผงโปรตีนเติมเป็นส่วนผสมในการเพิ่มโปรตีน

ระยะที่ 2

  • ระยะสัปดาห์ที่ 2 ( 10 – 14 วันหลังการผ่าตัด) ผู้ป่วยจะทนต่ออาหารได้มากขึ้น ในระยะนี้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารชนิดอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ย่อยง่าย มีไขมันต่ำ และมีโปรตีนสูง อาทิไข่ตุ๋นควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียด ไข่ต้ม ปลานึ่ง โจ๊กไม่ใส่ผักสด เต้าหู้อ่อนนึ่งซีอิ้ว กรณีผู้ป่วยต้องการรับประทานผักให้นำผักมาหั่นและทำให้สุก จากนั้นบดละเอียดก่อนรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงผักที่ทำให้เกิดแก้ส เพราะจะทำให้ท้องอืด แน่นท้อง อาทิ เห็ดทุกชนิด หอมใหญ่ ผักตะกูลกล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

สุริยะ พันธ์ชัย.การรักษาโรคอ้วนด้วยวิธีการผ่าตัด Bariatric Surgery.ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2556