จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน (Bariatric Surgery) ตอนที่ 1

จะกินอย่างไรเมื่อผ่าตัดกระเพราะอาหารลดความอ้วน

ปัจจัยจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน(obesity) และอ้วนผิดปกติ(morbid obesity) ในประเทศไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากความเป็นอยู่ดีขึ้น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการรับประทานอาหารfast food ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะที่รับประทาผักและผลไม้น้อยลง ทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ที่ทำให้การใช้แรงกายน้อยลงไป สิ่งเหล่านี้ทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้อ้วนได้ และส่งเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมายตามมา

ความสำคัญของการป้องกันและรักษาโรคอ้วน อาทิการใช้ยา การออกกำลังกาย การควบคุมการประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ ซึ่งสามารถลดน้ำหนักลงได้ แต่พบว่าไม่สามารถรักษาน้ำหนักหรือคงน้ำหนักตัวให้ผู้ป่วยได้ตลอด การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักจึงมีบทบาทซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่า สามารถควบคุมน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานานและผู้ป่วยหายจากโรคร่วมได้ดี

ดังนั้นการดูแลด้านโภชนาการหลังการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จำเป็นต้องให้การดูแลเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำ และการติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการ อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปีหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.