งีบกลางวันเสี่ยงเบาหวาน (ตอนที่ 12)

งีบกลางวันเสี่ยงเบาหวาน

อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (ต่อ)

  • ตาถูกทำลาย เพราะเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy) ซึ่งอาจทำให้ตาบอด และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจก (Cataracts) และต้อหิน (Glaucoma) ด้วย ทั้งนี้ ร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นานมากกว่า 15 ปี มักจะมีปัญหาเรื่องตา
  • เท้าถูกทำลาย เมื่อเส้นประสาทที่เท้าถูกทำลายหรือเลือดไหลไปที่เท้าไม่สะดวก ก็อาจทำให้เป็นแผลพุพอง (Blisters) และติดเชื้อ จนต้องตัดอวัยวะที่เท้าออก (Amputation)
  • ทำให้ผิวหนังและปากมีปัญหาง่าย เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
  • มีปัญหาเรื่องการได้ยิน
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์

• มีอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่

  • คลอดก่อนกำหนด (Premature birth) หรือก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
  • เด็กตัวโต ทำให้มีปัญหาการคลอดติดไหล่ (Shoulder dystocia)
  • แท้ง (Miscarriage) ระหว่าง 23 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
  • การคลอดแบบทารกตายในครรภ์ (Stillbirth)
  • ทารกพิการแต่กำเนิด (Birth defects)
  • ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด (Diabetic ketoacidosis) เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy-induced high blood pressure) และครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ แพทย์จะขอให้คนไข้ทำการทดสอบ

  • Glycated hemoglobin (A1C) test ซึ่งเป็นการทดสอบเลือดเพื่อหาค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน (ระยะเวลาอายุของเม็ดเลือดแดง) ที่ผ่านมา เป็นการวัดดูปริมาณของน้ำตาลที่จับอยู่บนฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดง [Hemoglobin เป็นสารสีแดงของเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกชิเจนจากปอดสู่เนื้อเยื่อ]

โดยขณะที่เม็ดเลือดวนเวียนในกระแสเลือดนั้น สารฮีโมโกลบินจะจับน้ำตาลในปริมาณที่ได้สัดส่วนกับระดับน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือด เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดสูง น้ำตาลจะจับหรือเกาะฮีโมโกลบินในระดับสูงด้วย หากระดับน้ำตาลต่ำ น้ำตาลจะเกาะอยู่บนเม็ดเลือดต่ำไปด้วย ค่าที่ได้แสดงความหมายดังนี้

  • เท่ากับหรือสูงกว่า 6.5% ถือว่ามีภาวะเบาหวาน
  • ระหว่าง 5.7 - 6.4 ถือว่ามีภาวะใกล้จะเป็นเบาหวาน (Prediabetes)
  • น้อยกว่า 5.7% ถือว่าปกติ

แต่ถ้าหากไม่สามารถทำการทดสอบ A1C หรือมีสภาวะที่ทำให้ผล A1C คลาดเคลื่อน เช่น มีการตั้งครรภ์ หรือ มี ฮีโมโกลบินผิดปกติ แพทย์ก็อาจให้คนไข้ทำการทดสอบวิธีอื่น เช่น

แหล่งข้อมูล

1. Gestational diabetes. http://www.nhs.uk/Conditions/gestational-diabetes/Pages/Introduction.aspx [2015, November 17].

2. Type 1 diabetes. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/basics/definition/con-20019573[2015, November 17].

3. Type 1 Diabetes. http://www.webmd.com/diabetes/type-1-diabetes-guide/type-1-diabetes [2015, November 17].