คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอนผลการให้รังสีรักษาล่าช้าในมะเร็งเต้านมระยะศุนย์

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-297

      

      

      ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม/แมมโมแกรม(Mammogram)และ/หรือด้วยอัลตราซาวด์เป็นที่ยอมรับแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย และโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา จึงส่งผลให้แพทย์พบจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะต้นๆโดยเฉพาะระยะศูนย์ซึ่งผู้ป่วยเกือบทั้งหมดจะเป็นเซลล์มะเร็งชนิด Ductal carcinoma (Stage0, Carcinoma in situ, Ductal carcinoma in situ ย่อว่า DCIS)สูงมากขึ้น ซึ่งมะเร็งเต้านมสตรีในระยะศูนย์ มีผลการรักษาโรคที่ดีมาก อัตรารอดจากมะเร็งสูงมาก และอัตราโรคย้อนกลับเป็นซ้ำต่ำมาก ซึ่งวิธีรักษาที่จัดเป็นการ มาตรฐานวิธีการหนึ่งคือ การรักษาแบบผ่าตัดเก็บเต้านมไว้(Breast-conserving surgery ย่อว่า BCSหรืออีกชื่อคือ Breast-conserving therapy ย่อว่า BCT) ซึ่งการรักษาวิธีนี้จะประกอบด้วย การผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆก้อนมะเร็งออกหลังจากนั้นจะรักษาต่อเนื่องด้วยการฉายรังสีรักษา(RT,Radiotherapy)ที่เต้านมด้านผ่าตัดทั้งเต้า คือ “BCS+RT” ซึ่งบ่อยครั้งผู้ป่วยจะปฏิเสธการฉายรังสี หรือตัดสินใจรับการรักษาด้วยRTที่ล่าช้า แพทย์จึงต้องการทราบว่า ในมะเร็งเต้านมสตรีระยะศูนย์(DCIS)การได้รับRTล่าช้าหลังการผ่าตัดBCS จะส่งผลต่อโรคย้อนกลับเป็นซ้ำที่เต้านมด้านเป็นโรคหรือไม่ อย่างไร

      การศึกษานี้ เป็นการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา นำโดย พญ. Elizabeth Shurell จากแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาล Memorial Sloan Kettering Cancer Center รัฐนิวยอร์ค และได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cancer เมื่อ 1 มกราคม 2018

      การศึกษานี้ เป็นการศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยหญิง DCIS ทั้งหมด1,323คนที่เป็นผู้ป่วยช่วงปีค.ศ.1980 -2010 มีมัธยฐาน(Median time)การติดตามโรคอยู่ที่ 6.6 ปี, ในการนี้ ผู้ป่วย 311 ติดตามผลได้นาน ≥10 ปี ผู้ป่วย 806ราย(61%)ได้รับRTภายใน ≤8 สัปดาห์หลังผ่าตัด, ผู้ป่วย 386 ราย(29%)ได้รับRT ช่วง >8-12 สัปดาห์หลังผ่าตัด, และผู้ป่วย 131 ราย(10%) ได้RTหลังผ่าตัดนาน มากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป

      ผลการศึกษาพบ ผู้ป่วยมีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำที่เต้านมข้าง BCS+RTรวมทั้งหมด =126 ราย โดยอัตรารอดจากโรคย้อนกลับเป็นซ้ำฯ ที่ 5 ปีในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับRTหลังผ่าตัด< 8 สัปดาห์ = 5.8% และที่10ปี=13.0% ; ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับRTหลังผ่าตัด > 8-12 สัปดาห์ 3.8% and 7.6%; โดยการเริ่มRTในช่วง<8สัปดาห์ และ>8-12สัปดาห์มีอัตราย้อนกลับเป็นซ้ำที่5,10ปีที่ไม่ต่างกันทางสถิติ(p=0.3) ส่วนกลุ่มได้RTหลังผ่าตัดนานมากกว่า 12 สัปดาห์มีอัตราโรคย้อนกลับเป็นซ้ำฯที่ 5 ปี= 8.8% และที่ 10 ปี= 23.0% ซึ่งอัตราย้อนกลับเป็นซ้ำฯในกลุ่มนี้(กลุ่มได้RTล่าช้านานมากกว่า 12 สัปดาห์หลังผ่าตัด)สูงกว่าผู้ป่วยอีก 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.004) นอกจากนี้ จากการศึกษาเพิ่มเติม ยังพบว่า ปัจจัยเสริมสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการย้อนกลับเป็นซ้ำฯสูงขึ้น คือ ผู้ป่วยกลุ่มยังมีประจำเดือน(p=0.0009) และการไม่ได้รับยาต้านฮอร์โมนเพศเสริมต่อเนื่องหลัง BCS+RT (ในกลุ่มกลุ่มER-) , p=0.002

      คณะผู้ศึกษาได้สรุปการศึกษานี้ว่า การศึกษานี้มีระเบียบวิธีศึกษาที่ถูกต้อง ผลที่ได้จากการศึกษาจึงนำมาใช้เป็นคำแนะนำในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสตรีชนิดDCISที่ได้รับการรักษาด้วย BCS+RT ผู้ป่วยควรได้รับRTในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 12 สัปดาห์นับจากการผ่าตัด การรักษาจึงจะได้รับประสิทธิผลเต็มที่

แหล่งข้อมูล:

  1. Cancer 2018;124:46-54