คิดหมกมุ่น (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

คิดหมกมุ่น-5

ส่วนการปรับเปลี่ยนความคิดจะเน้นที่

  • ช่วยให้เรียนรู้ว่า ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมด้านลบ จะก่อให้เกิดปัญหาเสมอ
  • ให้รู้จักปรับความคิดตามความให้เป็นจริง
  • ปรับพฤติกรรมอื่นที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพจิต

ทั้งนี้ ในบางกรณีที่มีอาการของโรคที่รุนแรงอาจจะต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลสักระยะ ส่วนการดูแลตัวเองที่บ้านอาจทำได้ด้วยการ

  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง อย่าหยุดแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว มิฉะนั้นอาการอาจกลับมาเป็นอีก หรือบางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องอาการถอน (Withdrawal-like symptoms) กรณีที่มีการหยุดยาทันที
  • ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของตัวเองและคอยกระตุ้นตัวเองให้ให้ปฏิบัติตามแผนการรักษา
  • ให้ความสนใจกับสัญญาณเตือน หรือสิ่งที่จะกระตุ้นให้กลับมามีอาการอีก
  • ฝึกฝนสิ่งที่ได้เรียน (Practice learned strategies) มาระหว่างการเข้ารับการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการเสพยาและแอลกอฮอล์ เพราะอาจมีปฏิกริยาต่อยาหรือทำให้อาการแย่ลง
  • ทำตัวให้กระฉับกระเฉง เช่น การออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ทำสวน

นอกจากนี้อาจใช้วิธีต่อไปนี้ช่วยในการดูแลตัวเอง

  • อย่าอยู่คนเดียว พยายามเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครอบครัว
  • ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เรียนรู้การผ่อนคลายและการจัดการกับความเครียด เช่น นั่งสมาธิ เล่นโยคะ
  • อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญขณะที่มีอารมณ์ผิดหวังหรือเสียใจ เพราะการตัดสินใจอาจผิดพลาดและทำให้เสียใจได้ในภายหลัง

ทั้งนี้ นายแพทย์ธิติพันธ์ ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับการป้องกันหรือลดทอนความคิดหมกมุ่นรูปลักษณ์ตัวเองไว้ดังนี้

1. รับข้อมูลผ่านสื่อโดยใช้วิจารณญาณ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละคน ตั้งแต่สีผิว รูปร่าง โครงสร้าง หน้าตา การจะให้เหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้

2. อวัยวะร่างกายแต่ละส่วนที่ได้มาตั้งกำเนิด ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานเป็นหลัก ความสวยงามถือเป็นผลพลอยได้ ซึ่งอวัยวะนั้นอาจมีจุดบกพร่องเรื่องความสวยงามไปบ้าง แต่ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์

3. ให้มองที่คุณค่าภายในของคน ไม่ใช่มองที่รูปร่างหน้าตาภายนอกเท่านั้น

4. ปรับความคิด หากทุกคนหน้าตาเป๊ะ เวอร์ ขาวใสเหมือนในโฆษณาหมด จะทำให้คนที่มีหน้าตาธรรมดา ผิวเข้มกลายเป็นผู้โดดเด่นสะดุดตาไปทันที

แหล่งข้อมูล:

  1. อึ้ง! พบคนไทยรุ่นใหม่ป่วยโรค "หมกมุ่นรูปลักษณ์ตัวเอง" กังวลไม่ปัง-เป๊ะ-เว่อร์. http://www.tnews.co.th/contents/383010 [2017, December 10].
  2. Body dysmorphic disorder. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/body-dysmorphic-disorder/symptoms-causes/syc-20353938 [2017, December 10].