น้ำตาล...ความหวานกับสุขภาพ ตอนที่ 6

ความหวานกับสุขภาพ

ไอเดียง่ายๆกับการควบคุมน้ำหนักตัวทำง่ายเพียงแค่คุณต้อง ลด ละ เลิกกินน้ำตาล

น้ำตาล !กินแค่ไหนถึงพอ

  • อายุ 6-13 ปี บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • อายุ 14-25 ปี บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา
  • อายุ 25 -60 ปี บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • อายุ 60 ปี ขึ้นไป บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • และคนที่ใช้พลังงานมากเช่น ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 8 ช้อนชา
  • การไหลเวียนของเลือดปั่นป่วน

    กินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้อินซูลินในร่างกายผลิตออกมาก จนตกค้างอยู่ในกระแสเลือด มีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดปั่นป่วนจนเป็นสาเหตุโรคความดันโลหิตสูง

    เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี

    กินน้ำตาลมาก จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลที่ไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ กว่าคนที่ทานน้ำตาลน้อย เพราะน้ำตาลเป็นตัวกระตุ้นให้ตับผลิตโคเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีมากขึ้น

    ทำให้ผิวพรรณเหี่ยวย่น

    น้ำตาลเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปจับกับเส้นใยโปรตีนในร่างกายเปลี่ยนเป็นโมเลกุล ซึ่งไปทำลายโปรตีน คอลลาเจน โปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับและมีความยืดหยุ่น เมื่อโปรตีนเหล่านี้ถูกทำลายไปก็จะทำให้ผิวเหี่ยวย่นและหย่อนคล้อยก่อนวัย

    ทำให้อารมณ์แปรปรวน

    จากการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้ากับการรับประทานน้ำตาลและอาหาร ฟาสต์ฟู้ด ว่าผู้ที่รับประทานอาหารขยะติดต่อกัน 6 ปี 40% มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารขยะ

    เราไม่จำเป็นต้องตัดความหวานออกจากชีวิตประจำวัน แต่ต้องรู้จักทานน้ำตาลในปริมาณพอดี เหมาะสมการลดน้ำตาลวันละ 1 ช้อนชา สามารถช่วยลดการเกิดโรคได้แล้ว

    “หวานน้อยๆ แต่หวานนานๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรงห่างไกลจากโรคร้าย”

    อ้างอิง

    ฉัตรภา หัตถโกศล. ประเภทของน้ำตาล คุณสมบัติและผลต่อร่างกาย . การประชุมวิชาการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 9 เรื่อง โภชนาการดีถ้วนหน้า ตามรอยพระบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ ; วันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ; ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ชั้น 5. กรุงเทพฯ.

    ศัลยา คงสมบูรณ์เวช.จานอาหารของฉัน(My Plate).กินเพื่อสุขภาพ ;2557.โรงพิมพ์เสริมมิตร .กรุงเทพฯ.หน้า 7-29.