ข้าวไทย ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตอนที่ 2

ข้าวไทยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า “ข้าว” โดยเฉพาะข้าวสีม่วง จนถึงม่วงเข้ม อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆได้ จะเห็นได้ว่าโรคไม่เรื้อรัง(Non-communicable diseases(NCDs) เกิดขึ้นจากการเกิดสารอนุมูลอิสระภายในร่างกายซึ่งสามารถเกิดได้ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับการถูกกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่นจากมลภาวะเป็นพิษ แสงแดด ควันบุหรี่หรือสารพิษตกค้าง หรือปัจจัยภายในที่ร่างกายสร้างขึ้น เช่นกระบวนการเผาผลาญสารอาหารที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ความสามารถในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระที่จะไปจับกับสารอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์ในร่างกายจะลดลง เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นร่างกายของเราจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆในอาหาร

จากการวิจัยพบว่า ข้าวที่มีสีช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ดีเนื่องจากมีวิตามินอี แกมมาโอไรซานอล สารโพลีฟีนอลและแอนโทไซยานิดินค่อนข้างสูง ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติทั้งต้านอนุมูลอิสระ(antioxidant) และสารต้านการอักเสบ(antiinflammation) สำหรับสารแอนโทไซยานิดินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำงานได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 5 เท่า เมื่อร่างกายได้รับสารแอนโทไซยานิดินเพียงพอ สารนี้จะไปจับกับอนุมูลอิสระ ทำให้สารอนุมูลอิสระเหล่านั้นไม่สามารถไปรบกวนการทำงานของเซลล์ต่างๆได้ และที่สำคัญดัชนีน้ำตาลในข้าวที่ขัดสีมักจะอยู่ในช่วงที่สูงคือประมาณ 54 - 121 ซึ่งส่งผลเสียต่อการทำงานของอินซูลิน

อ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย.ข้าวกับการส่งเสริมสุขภาพ.การประชุมวิชาการแห่งชาติครั้งที่ 8 เรื่องโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค; วันที่ 6 - 8 ตุลาคม 2557,ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ.