ลมชัก:ขับขี่รถอย่างไรให้ปลอดภัยในผู้มีอาการชัก

ขับขี่รถอย่างไรให้ปลอดภัยในผู้มีอาการชัก

การขับขี่รถอย่างปลอดภัยของผู้มีอาการชักนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะนอกจากปลอดภัยของตัวผู้มีอาการชักเองแล้ว ความปลอดภัยของเพื่อนร่วมเดินทางบนท้องถนนก็เป็นสิ่งที่สำคํญมาก ๆ ดังนั้นท่านต้องเคารพตัวท่านเอง และคนอื่นๆ ในสังคม กฏ กติกาที่รัฐกำหนดขึ้นมา เรามาเรียนรู้วิธีการขับขี่อย่างปลอดภัยในผู้มีอาการชัก

ขับขี่ปลอดภัย

  • ต้องควบคุมอาการชักได้ดี ทานยากันชักสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา
  • อาการชักครั้งสุดท้าย ต้องนานมากกว่า 12 เดือนสำหรับรถส่วนตัว และมากกว่า 10 ปีสำหรับการขับขี่รถสาธารณะ รถโดยสาร รถบรรทุก
  • ไม่ดื่มเหหล้า ไม่อดนอน ไม่มีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้มีอาการชักได้ง่ายขึ้น
  • ไม่มีผลข้างเคียงของยากันชัก อาการเซ ซึม ง่วง วิงเวียนศีรษะ มือสั่น เป็นต้น

การขับขี่อย่างระมัดระวัง

  • กรณีมีอาการชักแบบเฉพาะส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ใบหน้า โดยมีความรู้สึกตัวเป็นปกตินั้น กฏหมายไม่ได้ห้ามในการขับขี่ แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง
  • กรณีชักเฉพาะตอนนอนเท่านั้น ไม่เคยมีอาการชักขณะที่ตื่นเลย กรณีแบบนี้ก็ขับขี่รถได้ ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
  • ต้องรักษาตัวสม่ำเสมอ ทานยากันชักสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา ไม่อดนอน ไม่มีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชักได้ง่ายขึ้น

อันตราย ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด

  • ยังมีอาการชักสม่ำเสมอ ควบคุมอาการชักไม่ได้เลย
  • ทานยากันชักไม่สม่ำเสมอ ขาดยาเป็นประจำ
  • เกิดผลข้างเครียงของยากันชัก เซ ซึม ง่วง วิงเวียนศีรษะ มือสั่น เป็นต้น

สำคัญที่สุด

  • ถ้ามีอาการเตือนให้รีบหยุดรถทันที
  • ถ้าลืมทานยากันชัก วันนั้นห้ามขับรถ
  • การขับขี่รถสาธารณะต้องควบคุมการชักได้อย่างน้อย 10 ปี

อุบัติเหตุทางการจราจร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นท่านต้องระมัดระวังในการขับขี่รถอย่างยิ่ง