ของฝากจากน้ำท่วม (ตอนที่ 14)

ของฝากจากน้ำท่วม

นอกจากนี้อาจมีอาการ

  • ผื่นกระจาย
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เลือดออกที่เหงือกหรือจมูก (พบได้น้อย)

คนส่วนใหญ่จะหายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดถูกทำลายและรั่ว เกล็ดเลือดจะต่ำลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • เลือดออกทางจมูกและปาก
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาเจียนต่อเนื่อง
  • เลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้ดูเหมือนรอยช้ำ (Bruising)
  • มีปัญหาที่ปอด ตับ และหัวใจ

ความเสี่ยงของการเป็นไข้เด็งกีที่มีอาการรุนแรงหรือกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever = DHF) จะเพิ่มขึ้น หากมีการติดเชื้อครั้งที่ 2, 3 หรือ 4 โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี

การวินิจฉัยว่าเป็นไข้เด็งกีอาจทำได้ยาก เพราะมีอาการคล้ายกับโรคอื่น เช่น โรคมาลาเรีย โรคฉี่หนู และโรคไทฟอยด์ โดยแพทย์มักจะถามถึงประวัติสุขภาพและประวัติการเดินทาง

ในส่วนของการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้เด็งกีโดยเฉพาะ (วัคซีนกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา) สำหรับการดูแลเราสามารถ

  • ให้ยา Acetaminophen เพื่อลดไข้และแก้ปวด อย่างไรก็ดี ต้องระวังยาแก้ปวดประเภทที่อาจทำให้เกิดอาการเลือดออกไม่หยุด เช่น ยา Aspirin ยา Ibuprofen และยา Naproxen sodium
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ
  • พักผ่อนให้มาก

การป้องกันไข้เด็งกีทำได้ด้วยการลดโอกาสของการถูกยุงกัด ซึ่งได้แก่

  • การใส่เสื้อผ้าปกปิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้า
  • การใช้ยากันยุง (Mosquito repellent)
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่มีน้ำขัง
  • นอนในห้องที่กันยุง

บรรณานุกรม

1. Dengue fever. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dengue-fever/basics/definition/con-20032868 [2017, January 29].

2. Dengue. http://www.nhs.uk/conditions/dengue/Pages/Introduction.aspx [2017, January 29].

3. Dengue Fever. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/dengue-fever-reference#1 [2017, January 29].