โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต ตอนที่ 3

กินอย่างไรเมื่อปลูกถ่ายไต

โรคไตอักเสบ(Acute Glomerulonephritis) โรคไตอักเสบที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ Streptococci โรคไตอักเสบจากโรคแพ้ภูมิตนเอง(Lupus nephritis) เป็นต้น โดยแต่ละโรคมีกลไกการเกิดโรคและพยาธิสภาพที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากพยาธิสภาพเบื้องต้นเกิดจากการอักเสบบริเวณ glomerulus ทำให้ไตสามารถขับน้ำและเกลือลดลง ผู้ป่วยจึงมีอาการบวมและความดันโลหิตสูง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับพยาธิสภาพในขณะที่มีภาวะไตอักเสบ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

1.ผู้ป่วยจำเป็นต้อง จำกัดน้ำและเกลือเนื่องจากมีการคั่งจากการที่ไตทำงานลดลง โดยทั่วไปจะจำกัดน้ำประมาณ 500 – 1,000 ซีซี/วัน และจำกัดโซเดียม 1 – 2 กรัม/วัน (เท่ากับเกลือแกง 2.5 – 5 กรัม) 2.ในผู้ป่วยบางราย อาจมีโปแตสเซียมสูงกว่า 5.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงดังนี้

สำหรับผักที่มีโปแตสเซียมสูง อาทิ กล่ำดอก มันเทศ กล่ำปลีม่วง ขี้เหล็ก แครอท ถั่วฝักยาว บรอกโคลี่ มะเขือเทศ รากบัว ฟักทอง หัวปลี หน่อไม้ สะเดา

3. ผู้ป่วยควรได้รับอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญสำหรับเด็กในการสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อการเจริญเติบโตตามวัย ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยอาจต้องจำกัดโปรตีนในช่วงเวลาสั้นๆ โดยปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมในผู้ป่วยเด็ก คือ

4.ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน มีความจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาดเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

อ้างอิง

กรกต วีรเธียร. โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ;ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.

อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ . โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไต. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ;ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.