การนอนหลับ (ตอนที่6)

ปีพ.ศ. 2553 มีการทบทวนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เคยได้ตีพิมพ์ไปแล้ว โดยได้แนะนำว่า การออกกำลังกายโดยทั่วๆ ไป ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นในคนส่วนใหญ่ และช่วยรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการอออกกำลังกายอาจจะเป็น 4 - 8 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลานอน

แม้ว่าการออกกำลังกายไม่ว่าเวลาใดก็เป็นประโยชน์ แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับการออกกำลังกายอย่างหนักในเวลาสั้นๆก่อนถึงเวลานอน ซึ่งอาจจะรบกวนการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะให้รายละเอียดข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและการนอนหลับ

การใช้ยาช่วยนอนหลับ อย่างเช่น Ambianและ Lunerta กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในการรักษาการนอนไม่หลับ และได้กลายเป็นแหล่งรายได้ขนาดใหญ่สำหรับบริษัทยา แม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่ใช้กลุ่ม Benzodiazepine แต่ได้รับการเชื่อถือโดยทั่วๆ ไป ว่าดีกว่า และปลอดภัยกว่า กลุ่มยานอนหลับก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องผลข้างเคียง

การอุดตันที่ทำให้หยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ (Obstructive sleep apnea) เป็นภาวะซึ่งหยุดหายใจชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ รบกวนการดำเนินการของการนอนหลับปกติ และเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากขึ้นเสมอๆ

การหยุดหายใจเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ ทางเดินหายใจของผู้ป่วยคลายตัวระหว่างการนอนหลับ เป็นสาเหตุให้ทางเดินหายใจยุบตัวและกั้นการเข้าออกของออกซิเจน ระดับของออกซิเจนในเลือดตกลง คนไข้เริ่มฟื้นจากการหลับลึกเพื่อที่จะกลับมาหายใจใหม่ เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายๆครั้งใน 1 ชั่วโมง การหยุดหายใจในระหว่างการนอนหลับจะเพิ่มระดับของความรุนแรง ซึ่งอาจจะต้องได้รับการรักษา

การวิเคราะห์การหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับปกติ ต้องได้รับการศึกษาถึงรูปแบบการนอนหลับจากผู้เชี่ยวชาญในคลินิกรักษาการนอนหลับ เพราะการตื่นนอนดังกล่าว มีสาเหตุมาจากความผิดปกติระยะสั้นๆ ที่อาจรุนแรง และคนไข้ปกติจะจำประสบการณ์เหล่านั้นไม่ได้

จริงๆ แล้วผู้ป่วยหลายคนรู้สึกอ่อนล้า หลังจากได้นอนหลับมาหลายๆ ชั่วโมงและไม่รู้ว่าทำไม ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับยังรวมถึงการอ่อนล้าเรื้อรัง ความอ้วน และการนอนกรน

ความผิดปกติของการนอนหลับแบบอื่นๆ ได้แก่ภาวะง่วงหลับ (Narcolepsy) ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวแขนขา (Periodic limb movement disorder : PLMD) อาการขาอยู่ไม่นิ่ง (Restless leg syndrome : RLS) และความผิดปกติของจังหวะการนอนหลับ (Fatal familial insomnia: FFI)

ความผิดปรกติเหล่านี้เป็นโรคพันธุกรรมชนิดรุนแรงที่รักษายาก และไม่มีใครรู้วิธีรักษาหรือทำให้หายขาด เป็นลักษณะของการเพิ่มขึ้นของการนอนไม่หลับให้เป็นหนึ่งในอาการเหล่านี้ ในที่สุดผู้ที่ทนทุกข์ทรมานของโรคนี้ก็จะหยุดหายใจทั้งหมด ก่อนจะตายจากไป

การเดินหลับ(somnambulism) เป็นที่รู้จักว่าคือการเดินละเมอ เป็นความผิดปกติของการนอนหลับด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก การเดินละเมอของแต่ละบุคคลจะลุกขึ้นจากการนอนหลับแล้วเดินไปรอบๆ ขณะที่ยังนอนหลับอยู่ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ อาจจะตื่นนอนง่ายมากถ้ามีการรบกวนสภาพแวดล้อม และอาจจะสูญเสียระดับความสามารถที่จะทำให้นอนหลับอย่างมั่นคง

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 31].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 31].