การนอนหลับ (ตอนที่5)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาหลายครั้งก็คือ มีความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับและหน้าที่ที่ซับซ้อนของความจำ นักวิจัยการนอนหลับของมหาวิทยาลัย Harvard ได้ชี้จุดว่า ส่วนสำคัญของความจำและการเรียนรู้ ประกอบด้วย เส้นประสาทรับความรู้สึก (Dendrites) ซึ่งส่งข้อมูลไปที่เซลล์ของร่างกาย เพื่อจัดระเบียบให้เชื่อมโยงเป็นระบบประสาทใหม่ กรรมวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลจากภายนอกส่งไปที่เซลล์รับความรู้สึก และนี่อาจอธิบายว่าทำไม ระหว่างการนอนหลับ ความจำและความรู้ได้รับการกระชับและจัดการอย่างมีระเบียบ

ความฝันเป็นการรับรู้ประสบการณ์ของการรับความรู้สึกของความนึกคิดและเสียงระหว่างนอนหลับ ตามลำดับ ซึ่งผู้ฝันปกติรับรู้การมีส่วนร่วมที่ปรากฏได้มากกว่าการสังเกต ความฝันได้รับกระตุ้นโดยส่วนหนึ่งของก้านสมอง (Pon) และส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างช่วงการนอนหลับแบบการกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement : REM)

ความฝันอาจถูกห้าม (Suppress) หรือสนับสนุน (Encourage) ให้เกิดได้ การกินยาลดอาการซึมเศร้า ยาAcetaminophen (Paracetamol) ยา Ibuprofen หรือ แอลกอฮอล์ เป็นสารที่ห้ามความฝันได้เป็นอย่างดี ส่วน Melatonin มีความสามารถในการทำให้เกิดความฝัน

มีผู้นำเสนอทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับการทำงานของความฝัน ซิกมันฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้กล่าวว่าความฝันเป็นสัญญลักษณ์ของการเน้นความปรารถนาที่ท้อแท้ (Frustration) ซึ่งได้ถูกนำเสนอต่อไปยังจิตใต้สำนึก (Unconscious mind) และและเขาได้ใช้การแปรความฝันในรูปแบบของจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ที่เปิดเผยความปราถนาเหล่านี้

การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย เป็นความเชื่อทั่วไปที่บ่งบอกถึงความฝันเกี่ยวกับทางเพศ แต่ที่จริงแล้ว พวกเขาอาจจะฝันเรื่องเพศไม่มากกว่าฝันเรื่องอื่น ประสบการณ์จากระบบประสาท (Parasympathetic) จะเพิ่มการเคลื่อนไหวระหว่าง REM เป็นสาเหตุให้เกิดการแข็งตัวขององคชาตในผู้ชาย ประมาณ 80-95% ของการแข็งตัวเกิดในช่วง REM ขณะที่มีประมาณ 12% ของความฝันผู้ชายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

งานของฟรอยด์ ยังให้ความสำคัญกับบทบาทของจิตวิทยาของความฝัน ซึ่งไม่รวมบทบาททางกายภาพที่ควรจะมี งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ อ้างว่าการนอนหลับมีบทบาททั้งหมดของการวมเข้าด้วยกันและจัดการรูปแบบของการเชื่อมต่อระบบประสาท ระหว่างการเรียนรู้ และประสบการณ์ ซึ่งงานของฟรอยด์ก็ไม่ได้อยู่นอกกฏเกณฑ์นี้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของฟรอยด์ได้ขยายมากขึ้นโดยเฉพาะการอ้างถึงการจัดการและการรวบรวมเข้าด้วยกันของความจำ ในระยะเวลาอันใกล้

การนอนไม่หลับ (Insomnia) โดยทั่วไปอธิบายว่า คือสภาวะที่หลับยาก การนอนไม่หลับอาจจะมีสาเหตุต่างๆ รวมทั้งความเครียดในจิตใจ สิ่งแวดล้อมการนอนหลับที่ไม่ดี ตารางการนอนไม่เป็นเวลา หรือมีการกระตุ้นทางจิตใจและทางกายภาพ มากเกินไป เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนเวลานอน

การนอนไม่หลับได้รับรักษาเสมอๆ โดยผ่านทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อย่างเช่น พยายามนอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงกิจกรรมการกระตุ้นหรือความเครียดก่อนนอน และหยุดการรับประทานสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน ดังนั้นคนไข้ มักได้รับการแนะนำต่างๆ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมในการนอนของพวกเขาดีขึ้น โดยติดตั้งผ้าม่านอย่างหนา เพื่อปิดแสงทั้งหมด และเก็บคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และงานทั้งหมดออกจากพื้นที่ห้องนอน

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 30].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 30].