การนอนหลับ (ตอนที่4)

ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (Ongogenetic) การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนแบบ REM sleep ในเด็กแรกเกิด ดูเหมือนเป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาอวัยวะของร่างกาย (Organism) REM เป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะในเด็กทารก ผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน แม้เผ่าพันธุ์มนุษย์อาจแตกต่างกัน แต่ทารกหลังคลอดทุกคน ซึ่งยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ (Immature) มากเท่าไร ก็ยิ่งจะใช้ช่วงเวลาของ REM มากขึ้นเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า การนอนหลับมีความสัมพันธ์กับความจำ การนอนหลับไม่เพียงพอ มีผลกระทบต่อความจำปัจจุบัน (Working memory) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะความจำเป็นปัจจุบันเก็บข้อมูลที่จะมีผลต่อการประมวล และการสนับสนุนระดับที่ซับซ้อนของหน้าที่การรับรู้ อย่างเช่น การตัดสินใจ การใช้เหตุผล และการจำเหตุการณ์เป็นเรื่องๆ (Episodic memory)

ในการศึกษาเป็นเวลา 4 วัน ในผู้หญิง 18 คนและผู้ชาย 22 คน ที่ยอมให้นอนหลับเป็นเวลาเพียง 26 นาทีเท่านั้นในแต่ละคืน อาสาสมัครได้รับการทดสอบการรับรู้เบื้องต้น ขณะที่พักผ่อนอย่างดี และได้รับการทดสอบอีก 2 ครั้งในช่วงเวลา 4 วันดังกล่าว พบว่า ระหว่าง 4 วันของการนอนหลับไม่พอ ความจำปัจจุบันเฉลี่ยของกลุ่มที่อดนอน (นอนไม่พอ) ได้ตกลง 38% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่นอนตามปรกติ (Control group)

ความสัมพันธ์ระหว่างความจำปัจจุบันกับการนอนหลับ สามารถตรวจสอบได้ โดยการทดสอบการทำงานของความจำปัจจุบันระหว่างนอนหลับ นักวิจัยใช้กลไกที่เรียกว่า “ศักยภาพที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์” (Event-related potentials) ในการสังเกต (Perception) รูปประโยค จากข้อมูลทางภาษาศาสตร์ (Linguistic information) ที่ยังคงอยู่ (Preserved) ระหว่างการนอนหลับ แล้วสรุปว่า ความจำปัจจุบัน มีศักยภาพลดลง [ในขณะนอนหลับ] เมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ตื่นอยู๋

ความจำดูเหมือนให้ผลที่แตกต่างกัน ในแต่ละช่วงเวลา (Stages) ของการนอนหลับ อย่างเช่น ช่วงเวลาการนอนกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement: REM) [Active sleep] และช่วงเวลาการนอนหลับด้วยคลื่นช้า (Slow-wave sleep : SWS)

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง มีการศึกษาระหว่าง กลุ่มควบคุมที่ตื่นอยู่ (Wake control group) และกลุ่มทดสอบที่นอนหลับ (Sleep test group) โดยที่กลุ่มที่นอนหลับและตื่นอยู่ได้รับการสอนงาน (task) และแล้วต่อมาก็ได้รับการทดสอบเกี่ยวกับงานดังกล่าว ทั้งช่วงต้นกลางคืน (Early night) และช่วงตกดึก (Late night)

เมื่อสมองของผู้เข้าร่วมทดสอบได้รับการตรวจส่อง (Scan) ระหว่างนอนหลับ เครื่องตรวจสอบ (Hypnograms) เปิดเผยให้เห็นว่าSWS เป็นช่วงเวลาการนอนหลับที่เด่นชัด เมื่อเริ่มต้นกลางคืน และกินเวลาประมาณ 23% ของค่าเฉลี่ยสำหรับการนอนทั้งหมด กลุ่มทดสอบช่วงต้นกลางคืนจะให้ผลการทดสอบความจำที่ระลึกได้ (Explicit memory) [อาทิข้อเท็จจริงและความรู้] ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม 16%

ส่วนการนอนหลับในช่วงตกดึกนั้น REM จะมีผลมากที่สุดต่อการนอนหลับ กินเวลาประมาณ 24% ของค่าเฉลี่ยสำหรับการนอนทั้งหมด โดยที่กลุ่มที่ทดสอบการนอนช่วงตกดึกจะให้ผลการทดสอบความจำที่ซ่อนร้อน (Implicit memory) [อาทิ ทักษะการขี่จักรยานและว่ายน้ำ ที่ดำเนินไปโดยอัตโนมัติ] ได้ดีกว่า 25% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 29].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 29].