การนอนหลับ (ตอนที่3)

นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Warwick และ มหาวิทยาลัย College ลอนดอน ได้ค้นพบว่า การอดนอนสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยหลอดเลือดหัวใจถึง 2 เท่า แต่การนอนมากเกินไปก็สามารถมีผลต่อความสี่ยงจากความตายถึง 2 เท่าได้เช่นกัน แม้ว่าก่อนหน้านี้จะยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้นการนอนหลับยาก ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตใจ อย่างเช่น การซึมเศร้า การติดแอลกอฮอลล์ และความผิดปกติ 2 ขั้ว (Bipolar disorder) และกว่า 90% ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคซึมเศร้าพบว่ามีการนอนหลับยาก

เด็กต้องการการนอนมากกว่าในแต่ละวัน เพื่อที่จะพัฒนาการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งอาจนานถึง 18 ชั่วโมงสำหรับเด็กแรกเกิด จากนั้น จะมีอัตราลดลงตามอายุที่มากขึ้น เด็กแรกเกิดใช้เวลาสำหรับการนอนกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement: REM) [Active sleep] เกือบจะ 9 ชั่วโมง เมื่ออายุ 5 ปีหรือกว่านั้น REM จะค่อยๆ จะลดลงเหลือ 2 ชั่วโมง

จากการศึกษาพบว่า เด็กแรกเกิด (0 - 2 เดือน) ต้องการการนอนหลับวันละ 12 - 18 ชั่วโมง เด็กทารก (3 - 11 เดือน) ต้องการการนอนหลับวันละ 14 -15 ชั่วโมง เด็กวัยเตาะแตะ (1 - 3 ปี) ต้องการการนอนหลับวันละ 12 -14 ชั่วโมง เด็กวัยก่อนเข้าเรียน (3 - 5 ปี) ต้องการการนอนหลับวันละ 11 -13 ชั่วโมง และเด็กในวัยเรียน (5 - 10 ปี) ต้องการการนอนหลับวันละ 10 -11 ชั่วโมง เด็กวัยรุ่น (10 - 17 ปี) ต้องการการนอนหลับวันละ 8.5 -9.25 ชั่วโมง ส่วนผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้สูงวัย ต้องการการนอนหลับวันละ 7 -9 ชั่วโมง

การอดนอน (Sleep debt) เกิดจากการนอนไม่เพียงพอ การอดนอนนานๆ มีผลต่อเป็นภาวะจิตใจ อารมณ์ และทำให้ร่างกายอ่อนล้า การอดนอน มีผลในการลดความสามารถของกระบวนการการเรียนรู้ที่ซับซ้อน จินตนาการ และระบบประสาททางกายภาพ

พื้นที่ส่วนหน้าของสมองเป็นส่วนที่รับผิดชอบต่อความดันโลหิตของระบบไหลเวียนขณะนอนหลับ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่า คนเราสามารถอดนอนสะสมได้นานเท่าไร การสะสมขึ้นกับการนอนหลับเฉลี่ยของแต่ละบุคคลหรือตัวชี้วัดบางอย่าง

แต่ก็เป็นข้อสังเกตว่า การอดนอนได้เพิ่มมากขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เกิดขึ้นในโลกอุตสาหกรรมเมื่อ 2 - 3 ทศวรรษที่ผ่านมา และเด็กๆ ในสังคมของโลกตะวันตก ก็มีการนอนหลับน้อยลงกว่าเมื่อก่อนหน้านี้

ในทางพันธุศาสตร์ (Genetics) มีทฤษฎีที่กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์สัมพันธ์กับการนอนหลับ [หรือนอนไม่หลับ] อาทิ พันธุกรรมเป็นปัจจัยกำหนดว่า คนเราต้องการนอนเมื่อไร และอย่างไร นักวิจัยคนพบประจักษ์หลักฐนที่นับสนุนข้อสมมุติฐานนี้ โดยที่มีการค้นพบว่า ABCC9 เป็น จีน/ยีน (Gene) ที่มีอิทธิต่อช่วงเวลา (Duration) ของการนอนในมนุษย์

การศึกษาค้นคว้าผลของการนอนหลับไม่เพียงพอพบว่า การนอนหลับไม่เพียงพอในช่วงต้นของชีวิต สามารถมีผลในปัญหาพฤติกรรมการนอนไม่หลับอย่างถาวร ในช่วงเวลาของชีวิต ตลอดจนการลดลงของน้ำหนักสมอง (Brain mass) และการตายลงของเซลล์ประสาทที่ผิดปกติ

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 28].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 28].