การนอนหลับ (ตอนที่2)

การนอนหลับแบบกรอกลูกตาไปมาอย่างช้า (Non-rapid eye movement) หรือ NREM ประกอบด้วย 3 ระยะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความฝันเพียงเล็กน้อย

  • การนอนหลับแบบ NREM ระยะที่ 1: เป็นช่วงระหว่างการนอนหลับและการตื่น กล้ามเนื้อยังเคลื่อนไหวได้ และลูกตากรอกไปมาช้าๆ ตาจะค่อยๆ เปิดและปิด
  • การนอนหลับแบบ NREM ระยะที่ 2: เป็นช่วงที่ยากที่จะตื่นจากการนอนหลับ
  • การนอนหลับแบบ NREM ระยะที่ 3: ระยะนี้เรียกว่า การนอนหลับช่วงคลื่นช้า Slow-wave sleep (SWS) ผู้นอนจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า สิ่งแวดล้อมหลากหลายจะกระตุ้นการตอบสนองได้ไม่นาน

ส่วนในช่วงการนอนหลับแบบการกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement : REM) กล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะไม่มีแรง แม้ว่าผู้นอนหลับ จะแสดงคลื่น EEG คล้ายกับระยะตื่นนอน ก็ยากกว่าที่จะปลุกให้ตื่นเหมือนการนอนระยะอื่น สัญญาณสำคัญชี้ถึงการตื่นตัวและการใช้ออกซิเจนโดยสมองสูงกว่าเมื่อผู้นอนหลับได้ตื่นนอน

ผู้ใหญ่จะเข้าสู่ช่วง REM ประมาณทุกๆ 90 นาที กับช่วงครึ่งหลังของการนอนหลับ ในช่วงนี้ หน้าที่ของช่วง REM ยังไม่แน่นอน แต่การขาด REM จะทำให้การเรียนรู้ที่ซับซ้อนบกพร่องได้ ความฝันที่สามารถจดจำได้จะเกิดในช่วงนี้

ขั้นตอนในวงจรของ REM และ NREM ปกติจะเกิดขึ้น 4-5 รอบต่อคืน โดยลำดับจะเป็นดังนี้ N1 » N2 » N3 » N2 » REM ช่วงสุดท้าย จะมีจำนวนของการหลับลึกมากกว่า NREM ระยะที่ 3 ในช่วงต้นของกลางคืน ขณะที่สัดส่วนของ REM เพิ่มขึ้นในช่วง 2 วงจรก่อนที่จะตื่นนอนตามธรรมชาติ

ช่วงเวลานอนถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวิต (Circadian clock) กล่าวคือ ภาวะสมดุลของสิ่งแวดล้อม (Hemostasis) ของการหลับ-ตื่น ในร่างกายมนุษย์อยู่ภายใต้การผูกพันที่แน่นอนของพฤติกรรมที่จงใจ นาฬิกาชีวิต (ซึ่งควบคุมเวลาภายใน การขึ้นลงของอุณหภูมิร่างกาย และกลไกของเอ็นไซม์) เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของ Adenosine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ยับยั้งหลายๆ ขบวนการของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการตื่นนอน Adenosine ถูกสร้างขึ้นตลอดทั้งวัน และระดับที่สูงของ Adenosine จะทำให้รู้สึกง่วงนอน

ความจำเป็นของการนอนหลับเป็นช่วงของเวลาที่ผ่านล่วงไปตั้งแต่การนอนหลับที่เพียงพอในครั้งที่แล้ว ดังนั้นแนวโน้มของภาวะสมดุลของสิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย จะพยายามปรับความสมดุลเพื่อการนอนหลับที่สบาย และสอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต สิ่งนี้จะบอกร่างกายว่า ต้องการนอนหลับแค่ไหน การหยุดนอน (ตอนตื่น) เป็นตัวกำหนดแรกเริ่มโดยนาฬิกาชีวิต บุคคลซึ่งตื่นนอนสม่ำเสมอตอนเช้าโดยทั่วๆไ ปจะไม่สามารถนอนนานกว่าเวลาตื่นปกติของเขา แม้ว่าจะนอนไม่ค่อยจะพอก็ตาม

การนอนหลับส่วนใหญ่ของคนสัมพันธ์กับการนอนที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เพียงพอเมื่อมันเกิดผิดเวลานอนของวัน คนเราควรจะนอนหลับอย่างน้อยที่สุด 6 ชั่วโมง ก่อนที่อุณหภูมิร่างกายจะต่ำที่สุด ความต้องการการนอนหลับของคนผันแปรตามอายุและแต่ละบุคคล และการนอนจะดูว่าเพียงพอเมื่อไม่มีการง่วงนอนตอนกลางวันหรืออวัยวะเสื่อมหน้า

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 27].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 27].