การนอนหลับ (ตอนที่1)

ผลการวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เด็กที่เข้านอนดึกหรือไม่ได้เข้านอนในเวลาที่สม่ำเสมอ จะส่งผลกระทบให้ความสามารถในการอ่านและการคิดคำนวณอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าเด็ก ที่เข้านอนเร็วและเข้านอนเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ

ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระบาดวิทยาและอนามัยชุมชน พบว่า เด็กที่ไม่เคยมีเวลาเข้านอนอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่เคยเข้านอนก่อนเวลา 21.00 น. จะทำคะแนนในการทดสอบความสามารถในการอ่าน การคิดคำนวณ และความเข้าใจในมิติสัมพันธ์ ได้ระดับที่ต่ำกว่าเด็กที่มีพฤติกรรมการเข้านอนเร็วกว่า 21.00 น. อย่างสม่ำเสมอ และผลดังกล่าวจะชัดเจนมากในหมู่เด็กผู้หญิงอีกด้วย

หัวหน้าทีมวิจัยระบุว่า การเข้านอนไม่เป็นเวลานั้น อาจเป็นผลสะท้อนมาจากสภาพแวดล้อมของครอบครัว ที่ยุ่งเหยิง และส่งผลกระทบมากกว่าการนอนหลับที่ถูกรบกวนด้วยซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเด็กที่เข้านอนดึกและไม่เป็นเวลานั้น มีจุดอ่อนด้านพื้นฐานทางสังคม อ่านหนังสือน้อยในแต่ละคืน และมักใช้เวลาก่อนนอนไปกับการดูโทรทัศน์

การนอนหลับ (Sleep) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะคือการลดลงหรือไม่รู้สึกตัว (Consciousness) การหยุดชั่วคราวของการเคลื่อนไหวและไม่มีการทำงานของกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ แตกต่างจากการตื่นตรงที่การนอนเป็นการลดความสามารถต่อการตอบสนองต่อการกระตุ้น และฟื้นกลับคืนมาง่ายมากกว่าการจำศีล (Hibernation) หรือโคม่า (Coma)

การนอนหลับยังเป็นการเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มการเจริญเติบโต และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว รวมทั้งระบบประสาท ระบบโครงสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน

วัตถุประสงค์และกลไกของการนอนหลับเรารู้เพียงบางส่วนเท่านั้น และการค้นคว้าวิจัยกำลังดำเนินอยู่อย่างมากมาย ทฤษฎีที่ว่า การนอนหลับเป็นการช่วยเก็บรักษาพลังงาน ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ เนื่องการนอนหลับลดการเผาผลาญพลังงานเพียง 5-10% เท่านั้น

สภาวะจริงๆ แล้ว การนอนหลับมิได้สูญเสียพลังงานสุทธิจริงๆ เหมือนสัตว์ที่ฟื้นจากอุณหภูมิร่างกายต่ำ และอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อที่จะหลับ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก พบว่าการนอนหลับแบ่งเป็น 2 ชนิดกว้างๆ คือ

  1. การนอนหลับแบบการกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movement) ใช้ตัวย่อว่า REM [หรือ Active sleep]
  2. การนอนหลับแบบกรอกลูกตาไปมาอย่างช้า (Non-rapid eye movement) ใช้ตัวย่อว่า NREM [หรือ Non-active sleep] แต่ละชนิดมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพและระบบประสาทที่ชัดเจน

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 26].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, July 26].