กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ (GABA receptor agonist)

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ:คือยาอะไร?

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ (GABA receptor agonist) คือ กลุ่มยาที่กระตุ้นการทำงานของตัวรับ(Receptor) ในสมองที่มีชื่อว่า กาบา/GABA (Gamma-aminobutyric acid, สารสื่อประสาทที่เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อและการตื่นตัวของร่างกาย)receptors ส่งผลให้เกิดฤทธิ์สงบประสาท/คลายเครียด นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาคลายความวิตกกังวล  ต้านอาการลมชัก และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

หากแบ่งหมวดยากลุ่มนี้ตามชนิดของตัวรับของสารGABA สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

  • GABAA receptor agonists: ประกอบด้วยสาร/ตัวยาหลายชนิดเช่น Bamaluzole, Gabamide, Gaboxadol, Ibotenic acid, Isoguvacine, Isonipecotic acid, Muscimol, Picamilon, Progabide, Quisqualamine, Thiomuscimol, Avermectins, Barbiturates, Benzodiazepines, Bromides, Carbamates, Chloralose, Chlormezanone, Clomethiazole, Dihydroergolines, Etazepine, Etifoxine, Imidazoles, Kavalactones, Loreclezole, Neuroactive steroids, Sulfonylalkanes, Nonbenzodiazepines, Petrichloral, Piperidinediones, Propanidid, Pyrazolopyridines, Quinazolinones, Skullcap, Stiripentol, Valerian, Volatiles
  • GABAB receptor agonists: ประกอบด้วยสาร/ตัวยาหลายชนิดเช่น 1,4-Butanediol, Baclofen, Gamma-Butyrolactone, Gamma-Hydroxybutyric acid, Gamma-Hydroxyvaleric  acid, Gamma-Valerolactone, Lesogaberan, Phenibut, Picamilon, Progabide, Tolgabide
  • GABAA-p receptor agonists: ประกอบด้วยสาร/ตัวยาหลายชนิดเช่น N4-Chloroacetylcytosine arabinoside, Picamilon, Progabide, Tolgabide, Neuroactive steroids

 วงการแพทย์ได้ใช้ประโยชน์จากกลุ่มยากาบา อะโกนิสต์ในการบำบัดอาการป่วยของประ ชาชนได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยากลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine) โดยยาแผนปัจจุบันของยากลุ่มกาบา อะโกนิสต์นี้จะมีทั้ง ยาฉีด ยาชนิดรับประทาน ฯลฯ การใช้ยากลุ่มนี้จะมีความจำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันออกไปตามแต่อาการและโรค การใช้ยากลุ่มนี้จึงต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ป่วยใช้และปรับขนาดการใช้ยาด้วยตนเอง

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?

 

ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้: เช่น     

  • ใช้เป็นยาสงบประสาท/ยาคลายเครียด ยานอนหลับ
  • รักษาอาการวิตกกังวล
  • ป้องกันและรักษาโรคลมชัก
  • ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
  • รักษาอาการติดสุรา
  • รักษาอาการตื่นตระหนกจนเกินเหตุ (Panic)

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์คือ ตัวยาจะเข้าจับกับกาบารีเซปเตอร์ซึ่งมีอยู่ในเซลล์ประสาทของสมอง จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและออกฤทธิ์กระตุ้นสั่งการให้สมองทำงานตามธรรมชาติของยาแต่ละตัว

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่าย:

  • เป็นยาฉีด
  • ยาเหน็บทวาร
  • ยาชนิดรับประทานทั้งในรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีขนาดรับประทาน/การบริหารยาอย่างไร?

 ขนาดรับประทานหรือการบริหารยา/ใช้ยาของยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์โดยต้องอาศัยข้อมูลของตัวผู้ป่วย,รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการโรค,และมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มกาบารีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น      

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/ มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา/ใช้ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ สามารถรับประทาน/ใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยา/ใช้ยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณ ยาเป็น 2 เท่า

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาในกลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)  เช่น

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก
  • ง่วงนอน
  • วิงเวียน
  • ปวดหัว
  • ผื่นคัน
  • ไม่สบายในช่องท้อง
  • สับสน
  • ซึมเศร้า
  • อ่อนเพลีย
  • การสูญเสียความทรงจำ
  • ฝันร้าย
  • เจ็บหน้าอก
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ตัวบวม
  • ความดันโลหิตต่ำ

มีข้อควรระวังการใช้กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มนี้
  • ห้ามปรับขนาดรับประทานยากลุ่มนี้ด้วยตนเอง
  • ระวังการใช้ยากลุ่มนี้ใน เด็ก(นิยามคำว่าเด็ก) ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร การใช้ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์กับผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
  • ตัวยาบางตัวในยากลุ่มยากาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ไม่สามารถหยุดการใช้ยาทันทีได้ ต้อง ให้แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้ค่อยๆปรับลดขนาดจนกระทั่งหยุดการใช้ เช่น ยากลุ่ม เบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine)
  • ระวังการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคต้อหิน
  • ยาหลายตัวในกลุ่มยานี้สามารถทำให้เกิดความรู้สึกวิงเวียน ดังนั้นระหว่างการใช้ยาเหล่านั้น ควรระวังเรื่องการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรเพราะจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณ  อาหารเสริม   ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ทุกชนิด   และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น         

  • การใช้ยากาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ กลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine) ร่วมกับยาบางกลุ่ม เช่นยา ยาเม็ดคุมกำเนิด   ยาปฏิชีวนะบางตัว (เช่นยา  Tetracycline, Clarithromycin)  ยาต้านเศร้า   ยาต้านเชื้อรา สามารถส่งผลให้ระดับของยากลุ่มเบนโซไดอะซิปีนอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้นอาจทำให้ร่างกายได้รับผลข้างเคียงตามมาได้มากยิ่งขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน  
  • การใช้ยากาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ กลุ่มบาร์บิทูเรต (Barbiturate) ร่วมกับ ยาบางกลุ่ม สามารถเพิ่มฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลางได้ เช่นยา ยาแก้หวัด   ยาแก้แพ้ ยารักษาโรคหืด  ยากล่อมประสาท/ยาคลายเครียด  ยาแก้ปวด  ยาคลายกล้ามเนื้อ  ยากันชักยาต้านชัก  หากไม่ความจำเป็นใดๆ ควรเลี่ยงการใช้ยาบาร์บิทูเรตร่วมกับยากลุ่มดังกล่าว  
  • การใช้ยากาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์ในกลุ่มยา Nonbenzodiazepine (ยาที่ออกฤทธิ์คล้ายยากลุ่ม Benzodiazepine เช่นยา  Zolpidem) ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมจะก่อให้เกิดฤทธิ์และผลข้างเคียงของยา Nonbenzodiazepine มากยิ่งขึ้น เช่น วิงเวียน  ง่วงนอนมาก ขาดการครองสติจนอาจเกิดอันตรายติดตามมา จึงห้ามการใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

ควรเก็บรักษากาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?

 สามารถเก็บยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์:

  • เก็บยาในอุณหภูมิห้องที่เย็น
  • ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์

กาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่มกาบา รีเซปเตอร์ อะโกนิสต์  มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัท ผู้ผลิตเช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Ama (เอมา) Atlantic Lab
Amytal (อะไมทอล) Eli Lilly
Phenobarbitone GPO (ฟีโนบาร์บิโทน จีพีโอ) GPO
Phenobarbital Chew Brothers (ฟีโนบาร์บิทอล ชิว บาร์เทอร์) Chew Brothers
Phenobarbital Atlantic (ฟีโนบาร์บิทอล แอทแลนติค) Atlantic Lab
Neuramizone (นิวราไมโซน) Sriprasit Pharma
Elixir Phenobarb (อิลิคเซอร์ ฟีโนบาบ) Suphong Bhaesaj
Belladonna Alkaloids w/ Phenobarbital (เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ ดับเบิ้ลยู/ ฟีโนบาร์บิทอล) Samakeephaesaj
Anesthal (แอเนสทอล) Jagsonpal
Thiopen (ทิโอเพน) Unique
Dormicum (ดอร์มิคุม) Roche
Midazol (มิดาโซล) Hameln
Diazepam General Drugs House (ไดอะซิแพม เจนเนอรัล ดรักซ์ เฮาส์) General Drugs House
Diazepam GPO (ไดอะซิแพม จีพีโอ) GPO
Sipam (ซิแพม) Siam Bheasach
Anta (แอนตา) Central Poly Trading
Lonza (ลอนซา) Medicine Products
Lora (ลอรา) Atlantic Lab
Ambien (แอมเบียน) Sanofi-aventis US
Stilnox (สติลนอก) Sanofi-aventis

 

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/GABA_receptor_agonist  [2022,March5]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/GABAA_receptor  [2022,March5]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/GABAB_receptor [2022,March5] 
  4. https://www.drugs.com/article/benzodiazepines.html#list-us  [2022,March5]
  5. https://www.medicinenet.com/benzodiazepines-oral/article.htm  [2022,March5]
  6. https://www.rxlist.com/benzodiazepines/drug-class.htm [2022,March5]