logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาแก้ร้อนใน

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาแก้ร้อนใน

ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาดโดยไม่ปรากฏอาการขึ้นมาอีก ดังนั้นการรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาประคับประคองตามอาการที่สำคัญ คือ กินยาแก้ปวด/แก้เจ็บ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้

  1. ไตรแอมซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Triamcinolone acetonide) ชนิดขี้ผึ้ง 0.1%
  2. ฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Fluocinolone acetonide) 0.1% ชนิดสารละลาย หรือชนิดขี้ผึ้ง
  3. อาจใช้ คลอร์เฮ็กซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate) 0.2%-1% ใช้อมบ้วนปาก

อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้ว่า แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงด้วย เช่น การกินอาหารให้เหมาะสม การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการนี้ลง นอกจากนั้น แพทย์บางท่านอาจแนะนำกิน วิตามิน เกลือแร่ เสริมอาหาร และการเปลี่ยนชนิดยาสีฟัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

  1. ยาบัวบก: ยาแคปซูล, ยาชง

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) เช่น ผักชี ผักชีล้อม เซเลอรี แครอท

ข้อควรระวัง:

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ป่วยบางราย
  • ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กัน
  • บัวบกอาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และทำให้ประสิทธิผลของยาลดน้ำตาลและยาลดคอเลสเตอรอลลดลง
  • ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19

อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง): ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง มวนท้อง ท้องอืด และปัสสาวะบ่อย

  1. ยามะระขี้นก: ยาแคปซูล ยาชง ยาเม็ด

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในเด็ก หญิงให้นมบุตร และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักได้

ข้อควรระวัง:

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออกได้
  • ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดกิน หรือร่วมกับการฉีดอินซูลิน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้การเกิดตับอักเสบได้

อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง): คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือปลายเท้า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนช็อก (Hypoglycemic coma) อาการชักในเด็ก ท้องเดิน/ท้องเสีย ท้องอืด ปวดศีรษะ และอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ตับในเลือดได้

  1. ยารางจืด: ยาชง, ยาแคปซูล

ข้อควรระวัง:

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่น เพราะยารางจืดอาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายทำให้ประสิทธิผลของยาเหล่านั้นลดลง
  1. ยาหญ้าปักกิ่ง: ยาแคปซูล, ยาชง

ข้อควรระวัง:

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก