logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาหยอดหู

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาหยอดหู

  1. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial drug) หรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เช่น Chloramphenical, Polymyxins B, Neomycin, Ciprofloxacin, Ofloxacin เป็นต้น
  2. ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs) เช่น Clotrimazole, Tincture merthiolate, Gention violet เป็นต้น
  3. สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น กรดอะซีติก (2 Percent Acetic acid solution), กรดบอริก ที่จะมีคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อรา เนื่องจากเชื้อก่อโรคต่างๆ เหล่านี้ที่อยู่ในช่องหูมักเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง
  4. ยาชาเฉพาะที่ (Otic anesthetics) เช่น Lidocaine, Benzo caine ที่ใช้ช่วยลดอาการปวดหู
  5. ยาต้านอักเสบ (Corticosteroids) เช่น Hydrocortisone, Dexamethasone, Prednisolone ที่ใช้ลดการอักเสบและลดบวม
  6. ยาละลายขี้หู (Ceruminolytic agent) เช่น Docusate sodium, Sodium bicarbonate/NaHCO3), น้ำมันมะกอก ที่ใช้ในผู้ที่ขี้หูอุดตัน
  1. ไม่ควรใช้ยาที่ทำให้เกิดพิษ/มีผลข้างเคียงต่อหู (Ototoxicity) เช่น Neomycin ในคนไข้ที่แก้วหูทะลุ แต่ควรเลือกใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดที่ไม่มีพิษต่อหูแทน เช่น Ciprofloxacin หรือ Ofloxacin
  2. ไม่ควรใช้ยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาต้านอักเสบชนิดสเตียรอยด์ในคนไข้ที่ติดเชื้อรา เชื้อวัณโรค หรืองูสวัด ในช่องหู
  3. ในคนไข้ที่แก้วหูทะลุ ควรระวังการใช้ยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือมีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหรือระคายเคืองต่อหูได้
  4. ห้ามใช้ยาละลายขี้หูในผู้ที่แก้วหูทะลุหรือที่มีอาการอักเสบของหู
  1. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย/ยาปฏิชีวนะ ในกลุ่ม Aminoglycoside เช่น ยา Streptomycin, Kanamycin จะเป็นพิษต่อหู อาจทำให้การได้ยินเสียงผิดปกติ หรือสูญเสียการได้ยินได้ แต่กรณีนี้พบได้น้อยมากจากการใช้ยาหยอดหู
  2. เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนัง (Contact dermatitis) ซึ่งพบได้บ่อยในการใช้ยา Neomycin
  3. เกิดการติดเชื้อราแทรกซ้อนในช่องหู เนื่องจากใช้ยาต้านแบคทีเรียหยอดหูติดต่อกันเป็นเวลานาน
  4. ระคายเคืองช่องหูชั้นนอกเมื่อใช้ยาละลายขี้หูติดต่อกันนานเกินไป
  1. ควรทำความสะอาดหูก่อนหยอดยา โดยใช้ไม้พันสำลีเช็ดสิ่งสกปรกหรือหนองออกหรือใช้วิธีดูดออก (ทำโดยแพทย์เท่านั้น)
  2. นอนตะแคงให้หูข้างที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน ดึงใบหูไปด้านหลังและดึงขึ้นข้างบน เพื่อให้ยาเข้าไปในช่องหูได้ดี
  3. นอนตะแคงอยู่ในท่าเดิมประมาณ 3-5 นาที อาจเอาสำลีสะอาดใส่ไว้ในรูหูเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ยาไหลออกมา
  4. ถ้าหูชั้นนอกบวมมาก อาจใช้สำลีสอดเข้าไปในรูหูแล้วหยดยาผ่านสำลีแทน เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าช่องหูได้ดียิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนสำลีทุกวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและทำความสะอาดช่องหูทุกๆ 2-5 วันหรือตามแพทย์แนะนำจนกว่าหูชั้นนอกจะหายบวม
  5. ถ้าเป็นยาหยอดหูชนิดยาน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้ยา
  6. หากเก็บยาหยอดหูไว้ในตู้เย็น (ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง) ก่อนใช้ยาควรใช้มือกำขวดยาไว้สักครู่ เพื่อปรับอุณหภูมิของยาให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถ้าหยอดยาที่เย็นเกินไปในช่องหูอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้