logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาสลายนิ่ว

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาสลายนิ่ว

ยาละลายนิ่ว (Chemolysis) ในบทความนี้หมายถึง ยาที่ช่วยให้ผลึกของก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะละลายได้ (Chemolysis of urinary calculi) ยาละลายนิ่วสามารถใช้เป็นทางเลือกแรก หรือใช้เสริมการรักษาเพื่อละลายก้อนนิ่วที่ตกค้าง หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด หรือ หลังการสลายนิ่วโดยใช้คลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy/ESWL) หรือ หลังการสอดกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะเพื่อสลายนิ่ว (Ureterorenoscopy/URS) หรือ ใช้ละลายนิ่วในผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้

1. ยากินที่ออกฤทธิ์เพิ่มความเป็นด่างในปัสสาวะ (Oral alkalinising agent) เช่น ยาโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือเบคกิ้งโซดา หรือโซดามิ้นท์ (Sodium bicarbonate, Baking soda, Sodamint) โพแทสเซียมซิเตรท (Potassium citrate)

2. ยาที่ใช้ไหลผ่านก่อนนิ่วโดยตรง (Percutaneous instillation) ผ่านทางท่อระบาย (Nephrostomy tube) จากไตออกมาทางผิวหนัง เช่น ยาโทรเมทามีน (Tromethamine) อะเซทิลซิสเทอิน (Acetylcysteine)

1. ห้ามใช้ยา Potassium citrate ในผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง รวมถึงมีโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่อาจทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง เช่น ไตวายเรื้อรัง เบาหวานที่คุมอาการไม่ได้ ภาวะขาดน้ำเฉียบพลัน ต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีการสลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก เช่น ภาวะมีไข้ 

2. ห้ามใช้ยา Potassium citrate ในผู้ที่มีภาวะผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อุดตัน เป็นแผลในกระเพาะอาหาร 

3. ห้ามใช้ยา Tromethamine ในผู้ที่ร่างกายปัสสาวะได้น้อยหรือปัสสาวะไม่ออกเลย (Anuria) และภาวะยูรีเมีย (Uremia)

1. Sodium bicarbonate: ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดสูง ทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้อาการปอดบวม หรือภาวะหัวใจล้มเหลว แย่ลง 

2. Potassium citrate: ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ระคายเคืองทางเดินอาหาร ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย 

3. Tromethamine: ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง น้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง หลอดเลือดดำอักเสบ เนื้อตายเพราะยารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ปอดบวม กดการหายใจจนอาจหยุดหายใจ

4. Acetylcysteine: ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคันบริเวณผิวหนัง บวมน้ำ หลอดลมหดตัว และมีอาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ

ต่างกันที่หลักการทำงาน กล่าวคือ ยาละลายนิ่ว (Chemolysis)  เป็นยาที่ช่วยให้ผลึกของก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะละลายได้ ส่วนยาขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (Medical expulsion therapy/ MET in urology) เป็นยาที่ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบบริเวณท่อไต จึงทำให้นิ่วในท่อไตหลุดออกจากระบบทางเดินปัสสาวะได้เร็วขึ้น