logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ เหา

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : เหา

ชนิดของเหา

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเหา

อาการ

การรักษา

เหาที่ศีรษะ

เกิดขึ้นโดยการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด และใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมวก ที่มัดผม ผ้าเช็ดตัว รวมถึงที่เป่าผม โดยพบว่าการหวีผมอาจส่งเหาออกไปได้ไกลถึง 1 เมตร ทั้งนี้ความยาวของเส้นผมไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ติดเหาง่ายขึ้น ผู้ชายจึงสามารถเป็นเหาได้เช่นกัน

คันที่ศีรษะ เพราะร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด โดยถ้าตรวจดูหลังการดูดเลือดใหม่ๆ จะพบตุ่มนูนแดงเล็กๆ และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงเวลานี้

  • การใช้ยาฆ่าเหา ซึ่งมีทั้งยาสระผมและยากิน
  • การใช้หวีเสนียดหวีผมหลังจากที่ใช้ยาฆ่าเหาไปแล้ว
  • การโกนผม

เหาที่ลำตัว

เกิดขึ้นโดยการอาศัยอยู่กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาวะที่ไม่มีการอาบน้ำ ไม่ได้เปลี่ยนหรือซักเสื้อผ้า เช่น การเดินทางบนรถบัสหรือรถไฟเป็นระยะทางยาวนานหลายวัน การอยู่ในค่ายกักกัน ค่ายผู้อพยพ ในคุก หรือพบในคนเร่ร่อนไม่มีที่อยู่อาศัย

คันตามลำตัว และคันมากในช่วงกลางคืน การตรวจร่างกายก็จะพบรอยเกา และตุ่มนูนแดงเล็กๆ ที่เกิดจากการกัดดูดเลือดของเหา โดยจะพบตามลำตัวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณอื่นๆที่อาจพบ ได้แก่ บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ส่วนบริเวณหน้า แขนและขาจะพบได้น้อย และที่บริเวณหนังศีรษะจะไม่พบตุ่มนูนแดงนี้ นอกจากนี้ อาจพบผื่นแบนเรียบเล็กๆ สีออกเทา-น้ำเงิน

การอาบน้ำ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและที่นอน

เหาที่อวัยวะเพศ (โลน)

เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่ในเด็กก็สามารถพบได้โดยเกิดจากพ่อแม่เป็นเหาที่อวัยวะเพศ และมีการอยู่ใกล้ชิด นอนร่วมกัน ทำให้เด็กติดเหาจากพ่อแม่ได้

คันในบริเวณที่เหาอาศัยอยู่ เช่น ขนที่อวัยวะเพศ ขนรอบรูก้น ขนที่ท้อง ขนที่หน้าอก ขนที่รักแร้ หากมีปริมาณมาก อาจลามไปถึงขนคิ้วและขนตาได้

  • ใช้ยาฆ่าเหา
  • การโกนขน

แต่สิ่งสำคัญคือต้องรักษาคู่นอนของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย

  1. เหาที่ศีรษะ หากมีปริมาณมากและทิ้งไว้ไม่รักษา เส้นผมอาจจะพันกันกลายเป็นก้อน มีสะเก็ดหนอง และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  2. เหาที่ลำตัว หากทิ้งไว้ไม่รักษาเป็นเวลาหลายปี ผิวหนังจะหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งเกิดจากการเกาผิวหนังเป็นระยะเวลานานๆ
  3. ไม่ว่าเป็นเหาที่บริเวณไหน หากมีปริมาณมาก หรือเกามากจนผิวหนังถลอก อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดผิวหนังอักเสบและเป็นฝีหนองได้
  4. ตัวเหาเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epi demic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้น

การป้องกันการแพร่เหาสู่ผู้อื่นคือ ต้องรักษาเหาของตนเองให้หาย และการกำจัดเหาที่อาจหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองกลับเป็นซ้ำด้วย อันได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกาย ของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น หวี หมวก ที่มัดผม ผ้าคลุมผม ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว รวมถึงของเล่น เช่น ตุ๊กตา สำหรับสิ่งของที่นำมาซักล้างไม่ได้ ให้ใช้วิธีใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้มิดชิด ทิ้งไว้ในระยะเวลาที่แน่ใจว่าตัวเหาจะตายทั้งหมด และเผื่อเวลาไว้สำหรับเหาที่อาจวางไข่และฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งก็คือระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วจึงนำของใช้ดังกล่าวมาใช้ต่อได้