logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ หอบหืด

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : หอบหืด

  • กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืด ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น
  • สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว เป็นต้น
  • จากการศึกษาพบว่าบ้านที่พ่อและ/หรือแม่สูบบุหรี่ ลูกมีโอกาสเป็นโรคหืดมากกว่าบ้านที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่
  • อาการไอซึ่งมักจะไอแห้งๆ หรืออาจมีเสมหะเล็กน้อย สีขาวใส
  • อาการหอบ
  • หายใจเสียงหวีด

โดยตัวที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคหืดเกิดอาการหอบหืด/หอบเหนื่อย ได้แก่

  • สารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสุนัข ขนแมว ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้
  • การสัมผัสความร้อนเย็น เช่น การรับประทานไอศกรีมหรือเข้าห้องแอร์
  • การออกกำลังกาย
  • การหัวเราะมากๆ
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เครียด
  • การเป็นโรคหวัดหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก ไซนัส ลำคอ ท่อลม)
  • การกินยาบางตัว เช่น ยากลุ่มแอสไพริน ยาต้านการอักเสบ/ ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นเสด และยาลดความดันในกลุ่มบีตาบลอกเกอร์ (Beta-blocker เช่น ยาโปรปาโนโลล (Propanolol) เป็นต้น

โรคหืดอาจแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระดับ

ความรุนแรงของโรคหืด

อาการหอบกลางวัน

อาการหอบกลางคืน

พีอีเอฟ อาร์

ความผันผวนของพีอีเอฟอาร์

1. Intermittent (ระดับเป็นๆหายๆ)

มีอาการนานนานครั้ง ช่วงที่มีอาการจะมีอาการ<1>

( <2>

(>80%)

(<20>

2. Mild persistent (ระดับรุนแรงน้อย)

มีอาการ>1 ครั้ง/สัปดาห์

( >2/เดือน)

(>80%)

( 20-30%)

3. Moderate persistent(ระดับรุนแรงปานกลาง)

มีอาการเกือบทุกวัน

(>1/สัปดาห์)

(60-80%)

(>30%)

4. Severe persistent(ระดับรุนแรงมาก)

มีอาการตลอดเวลา

บ่อยๆ

(<60>

(>30%)

*PEFR (Peak expiratory flow rate) เป็นการทดสอบสมรรถภาพของปอดด้วยเครื่องมือวัดความเร็วลมที่เป่าออกมาจากปอดอย่างเร็ว โดยค่าที่วัดได้มีหน่วยเป็น L/min. จะบอกให้ทราบถึงสภาวะหลอดลม ณ ขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร

โรคหืดสามารถรักษาจนผู้ป่วยมีชีวิตเช่นคนปกติได้ไม่ยาก โดยการให้ยารักษาซึ่งได้แก่ยาพ่นเสตียรอยด์ ซึ่งเมื่อมีการใช้ยาพ่นเสตียรอยด์เป็นเวลานานๆ เช่น 1-3 ปี จะทำให้การอักเสบของหลอดลมลดลงมาก ทำให้หลอดลมไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ผู้ป่วยก็จะไม่มีอาการหรือที่เรียกว่าโรคหืดอยู่ในระยะสงบ ทั้งนี้ในระยะนี้ผู้ป่วยสามารถหยุดยาได้ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการหอบและผู้ป่วยไม่ต้องใช้ยา ดังนั้นผู้ป่วยจะพูดว่าหายจากโรคหืดแล้ว แต่แพทย์จะไม่เรียกว่าโรคหืดหาย แพทย์จะเรียกว่าโรคหืดอยู่ในภาวะสงบ ซึ่งอาจจะสงบไปนานขึ้นกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด