logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ถุงลมโป่งพอง

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ถุงลมโป่งพอง

  1. การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ปริมาณและระยะเวลาที่สูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ยิ่งสูบบุหรี่มากและสูบมานานหลายปีจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มาก แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนจะต้องเป็นโรคนี้ โดยเฉลี่ยผู้สูบบุหรี่ 5 คนจะเป็นโรคนี้ 1 คน การที่ไม่ได้เป็นโรคในผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนคาดว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยของเรื่องพันธุกรรมในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
  2. มลภาวะของอากาศ การทำงานบางประเภทที่มีการหายใจเอาละอองสารเคมีบางอย่างเป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การทำงานในเหมืองถ่านหิน งานอุตสาหกรรมสิ่งทอจากฝ้าย งานอุตสาหกรรมพลาสติก และงานเชื่อมโลหะ เป็นต้น
  3. เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ขาดเอนไซม์ชื่อ Alpha-one antitrypsin (เอนไซม์ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากสารต่างๆ)

เกิดจากผนังของ Respiratory bronchiole ท่อถุงลมและ/หรือถุงลมถูกทำลายหายไป ทำให้ท่อและถุงลมซึ่งอยู่ติดๆ กันคล้ายพวงองุ่น กลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่ เมื่อหลอดลมที่ใช้แลกเปลี่ยนก๊าซ ท่อถุงลม และถุงลม เกิดการโป่งพอง จะสูญเสียความยืดหยุ่นในการหดตัวเพื่อบีบไล่อากาศออกจากท่อเมื่อเราหายใจออก ทำให้อากาศซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำเกิดการคั่งค้างอยู่ในปอดได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง ผู้ป่วยจะมีปริมาณก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายขึ้นมา

  • เริ่มมีอาการไอ และมีเสมหะบ่อยๆ มักจะเป็นมากในช่วงเช้า ซึ่งเป็นอาการของการที่มีพยาธิสภาพของหลอดลมอักเสบร่วม แต่อาการจะไม่เด่นเท่าผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
  • ต่อมาเริ่มมีอาการเหนื่อยซึ่งจะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากมีอาการเหนื่อยง่ายขึ้นเมื่อออกแรงใช้กำลัง จนกระทั่งสุดท้ายแม้อยู่เฉยๆ ก็มีอาการเหนื่อยได้
  • อาจมีหายใจเสียงดังวี๊ดๆได้ หรือรู้สึกเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้ ตรวจร่างกายจะฟังเสียงปอดได้ผิดปกติ อัตราการหายใจเร็วกว่าคนปกติ
  • ในผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้ว ขนาดทรวงอกจะใหญ่กว่าปกติ เนื่องจากปริมาตรปอดที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยจะขยายออกทางด้านหน้าและหลังมากกว่าทางด้านข้าง ทำให้ทรวงอกมีรูปร่างเหมือนถังเบียร์หรือโอ่ง เรียกว่า Barrel chest
  • อาจพบลักษณะการหายใจออกแบบห่อปาก (Pursed lip) ซึ่งเป็นท่าทางที่ช่วยในการหายใจเอาอากาศออก หรือท่ายืนเอนตัวไปด้านหลังและยืดแขนออก
  • ตรวจดูเล็บอาจพบลักษณะเล็บปุ้ม/นิ้วข้อปลายมีลักษณะกลม (Clubbing finger)
  • เมื่ออาการรุนแรงมากแล้ว จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดที่ไหลเข้าสู่ปอด ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ ผู้ป่วยก็จะมีอาการบวมตามแขนขา ตับโต ท้องมาน/มีน้ำในท้อง และยิ่งทำให้มีอาการเหนื่อยมากขึ้น
  • ในผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้วจะพบอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น น้ำหนักตัวลดอย่างมีนัยสำคัญ โดยในระยะท้ายๆ ผู้ป่วยจะผอมมาก
  1. เลิก/หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และยาเส้น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่หรือสถานที่มีควันบุหรี่
  2. หากผู้ป่วยอาศัยอยู่ในเมืองที่มีปัญหามลภาวะทางอากาศ พยายามอยู่แต่ในบ้านหรือในอาคาร เพราะจะมีฝุ่นละออง ควันพิษต่างๆ น้อยกว่าตามท้องถนน และควรใช้หน้ากากอนามัย
  3. ผู้ป่วยควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และเชื้อนิวโมคอคคัส เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคนี้กำเริบ