logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ กระเพาะอาหาร

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : กระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคของกระเพาะอาหาร (Stomach disease) คือ โรค/ภาวะผิดปกติต่างๆ ที่เกิดกับเซลล์/เนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร มีหลากหลายมาก ทั้งโรค/ภาวะผิดปกติที่พบบ่อย หรือที่พบได้เรื่อยๆไม่บ่อยมาก หรือที่พบน้อย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลเปบติค กระเพาะอาหารติดเชื้อ มะเร็งกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอุดตัน กระเพาะอาหารทะลุ โรคอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร ภาวะไร้กรดเกลือ เป็นต้น

  • อายุ: ยิ่งสูงอายุโอกาสที่เซลล์กระเพาะอาหารจะเสื่อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับเซลล์ทุกอวัยวะก็ยิ่งสูงขึ้น จึงเกิดโรคต่างๆ ได้สูงขึ้น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ภาวะไร้กรดเกลือ เป็นต้น
  • สูบบุหรี่: ควันพิษของบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคกระเพาะอาหารได้หลายโรค เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคแผลเปบติค
  • การดื่มสุราเรื้อรัง: เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน แผลเปบติค และกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เพราะแอลกอฮอล์ก่อการระคายเคืองเรื้อรังต่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร
  • ความเครียด: จะส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเกลือสูงต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบและแผลเปบติคได้ ที่รวมถึงภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด: เช่น ยาแก้ปวด/ ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยาเสตียรอยด์ ที่จะส่งผลต่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นแผลที่รวมถึงมีเลือดออกจากแผลได้ง่าย (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร)
  • ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไพโลไร: ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน: ที่จะส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน เรอบ่อย สะอึกบ่อย อุจจาระดำเหมือนยางมะตอย (อาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร) หรืออาจคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณยอดอก

ก. การรักษาสาเหตุ: ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละโรคที่เป็นสาเหตุ ที่รวมถึงความรุนแรงของอาการและการตอบสนองต่อวิธีรักษาในแต่ละผู้ป่วย เช่น การรักษาทางยาและการผ่าตัด

ข. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต: เป็นการรักษาร่วมกับวิธีรักษาในทุกๆ สาเหตุ เป็นการรักษาหลักที่สำคัญ/ที่จำเป็นสำหรับทุกผู้ป่วย ได้แก่ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการบริโภคเพื่อช่วยลดการอักเสบ/การระคายเคือง เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานได้พอเหมาะกับประสิทธิภาพที่ยังคงเหลืออยู่ที่จะช่วยให้กระเพาะอาหารฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากกระเพาะอาหารทำงานลดลง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เรอ สะอึก ซึ่งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ การเลิกบุหรี่/สุรา การปรับประเภทและปริมาณอาหาร การใช้ยาโดยรู้ถึงผลข้างเคียงของยาที่มีต่อกระเพาะอาหาร และการรักษาสุขภาพจิต

ค. การรักษาตามอาการ: เช่น การใช้ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาแก้สะอึก เป็นต้น